หลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (หลักสูตรฟื้นฟู) รุ่นที่ 1 (รูปแบบออนไลน์)

ประกาศ

- การจัดอบรมยังดำเนินการจัดอบรมแม้ผู้สมัครอบรมไม่ครบตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด แต่มีการเปลี่ยนแปลงวันที่ต่าง ๆ ขอให้ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมกรอกรายละเอียดสำหรับส่งอุปกรณ์ทางไปรษณีย์ลงในลิงก์ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64 https://forms.gle/kYFac1xDKNFMJSUCA

- หลักฐานผ่านการอบรมที่ได้จากหลักสูตรอบรมนี้สามารถ ใช้ ประกอบการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพกับ IBC ประจำส่วนงานหรือ CU-IBC ได้

-  หลักฐานผ่านการอบรมที่ได้รับจากหลักสูตรอบรมนี้ ไม่ สามารถใช้เป็น “หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity)” สำหรับการขอ/ต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้ง/ใบอนุญาตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ได้


เงื่อนไข

- ขอสงวนสิทธิ์สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษาและบุคลากร จุฬาฯ  ที่เคยอบรมหลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพแล้วและหลักฐานผ่านการอบรมหมดอายุหรือใกล้หมดอายุ

- ผู้ประสงค์เข้าอบรมต้องมีบัญชี CUNET ห้ามใช้บัญชี CUNET ของผู้อื่น หากตรวจสอบพบจะถูกตัดสิทธิ์เข้าอบรม

- ผู้ประสงค์เข้าอบรมต้องตรวจสอบรายชื่อผู้สมัคร รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าอบรม และรายชื่อผู้ผ่านการอบรมที่หน้าเว็บไซต์ ศปอส. เมนูอบรม/สัมมนา

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมแต่ไม่สามารถเข้ารับการอบรมได้ต้องแจ้งกลับมาที่คุณวันวิสา สุดสมัย ภายในวันที่กำหนด หากไม่แจ้งจะถูกตัดสิทธิ์การเข้าอบรมหลักสูตรนี้ทั้งแบบออนไลน์และแบบปกติในรุ่นสำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษาและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งถัดไป

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบบรมต้องใช้อุปกรณ์สำหรับใช้ในการอบรมภาคปฏิบัติ (PPE และ Spill kit) ที่ส่งให้ทางไปรษณีย์

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบบรมต้องเตรียมอุปกรณ์ที่สามารถเข้าโปรแกรม Zoom และสามารถเปิดกล้องได้ หากไม่เปิดกล้องขณะสอบจะถือว่าไม่ผ่านการอบรม และอุปกรณ์สำหรับสแกน QR code เพื่อเช็คชื่อ ถ่ายภาพในช่วงอบรมภาคปฏิบัติส่งอาจารย์ผู้สอนขณะอบรม และใช้ G Suite for Education (Google Apps) สำหรับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ในการส่งไฟล์ภาพถ่าย

- ผู้เข้ารับการอบรมต้องเปิดกล้องในขณะทำการสอบหลังอบรม

- ผู้เข้ารับการอบรมควรมีพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร สำหรับฝึกภาคปฏิบัติการ

- ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับหลักฐานผ่านการอบรมเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนอบรม ขณะอบรม และหลังอบรมดังด้านล่าง ทั้งนี้ หากมีปัญหาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ภายในวันและช่องทางที่กำหนด


ขั้นตอนก่อนการอบรม

- ลงทะเบียนวันที่ 1 มิ.ย. - 26 มิ.ย. 64 (หรือปิดรับลงทะเบียนเมื่อมีผู้ลงทะเบียนครบ 250 คน) (ไม่เสียค่าใช่จ่าย) 

- การลงทะเบียนและการเข้าอบรมออนไลน์ต้องใช้ Username และ Password ของบัญชี CUNET ในการเข้าสู่ระบบ กรณีไม่มีบัญชี CUNET สามารถขอได้ที่ https://www.it.chula.ac.th/service/cunet/

- ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนสำเร็จที่เมนู “รายชื่อผู้สมัคร” ทันทีที่ลงทะเบียนเสร็จ และตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับสิทธิ์เข้าอบรมที่เมนู “รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าอบรม” ในวันที่ 28 มิ.ย. 64 ตั้งแต่เวลา 13.00 น.

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมแต่ไม่สามารถเข้ารับการอบรมได้ต้องแจ้งกลับมาที่คุณวันวิสา สุดสมัย ทางอีเมล Wanwisa.Su@chula.ac.th ภายในวันที่ 29 มิ.ย. 64 โดยจะมีอีเมลตอบกลับภายใน 1 วันทำการ

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบบรมกรอกรายละเอียดสำหรับส่งอุปกรณ์ทางไปรษณีย์ที่ลิงก์ด้านบนภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64 

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมทดสอบการ Login เข้าระบบ SHECU Moodle http://www.coursetraining.shecu.chula.ac.th/ ด้วยบัญชี CUNET (พิมพ์ Username และ Password ด้วยตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมด) และทดสอบเข้าเช็คชื่อและส่งภาพถ่ายด้วย G Suite for Education (Google Apps) โดยสแกน QR code ที่จะส่งให้ในกลุ่มไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 15-16 ก.ค. 64 หากพบปัญหาให้แจ้งที่กลุ่มไลน์ ภายในวันที่ 16 ก.ค. (QR code สำหรับเข้ากลุ่มไลน์จะได้รับพร้อมอุปกรณ์สำหรับภาคปฏิบัติ)

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมต้องเตรียมอุปกรณ์ที่สามารถเข้าโปรแกรม Zoom และสามารถเปิดกล้องได้ (ศึกษาวิธีการใช้งาน Zoom ได้ที่ https://www.it.chula.ac.th/service/chulazoom/) และอุปกรณ์สำหรับสแกน QR code เพื่อเช็คชื่อ ถ่ายภาพในช่วงอบรมทำภาคปฏิบัติส่งอาจารย์ผู้สอนขณะอบรม และใช้ G Suite for Education (Google Apps) สำหรับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ในการส่งภาพถ่าย

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมต้องเตรียมพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร สำหรับฝึกปฏิบัติการ


ขั้นตอนขณะอบรม

- ภาคทฤษฎีเป็นการเรียนด้วยตนเองผ่าน Moodle ในวันที่ 1-20 ก.ค. 64 (ต้องกดยืนยันใน Moodle เพื่อแสดงว่าได้เรียนภาคทฤษฎีแล้วจึงจะเรียนภาคปฏิบัติได้) ส่วนภาคปฏิบัติเป็นการเรียนผ่าน Zoom ในวันที่ 21 ก.ค. 64 (โดยลิงก์ Zoom อยู่ใน Moodle)

- ในหน้ารายละเอียดการอบรม เลือก SHECU Moodle จากนั้นเลือกหลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (หลักสูตรฟื้นฟู) รุ่นที่ 1 (รูปแบบออนไลน์) ด้วยบัญชี CUNET (พิมพ์ Username และ Password ด้วยตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมด)

- เข้าลิงก์ห้องอบรม Zoom ที่แสดงใน SHECU Moodle โดยห้องอบรม Zoom เปิดตั้งแต่เวลา 8.00 น. ขอให้ตั้งชื่อผู้ใช้งานด้วยชื่อและนามสกุลของผู้เข้าอบรมเป็นภาษาไทย

- ไม่อนุญาตให้คัดลอกและส่งต่อลิงก์ห้องอบรม Zoom ให้ผู้อื่น

- การสอบหลังอบรมต้องเปิดกล้อง


ขั้นตอนหลังการอบรม

- ตรวจสอบรายชื่อผู้ผ่านการอบรมได้ที่เมนู “รายชื่อผู้ผ่านการอบรม” ได้ วันที่ 22 ก.ค. 64 ตั้งแต่เวลา 13.00 น.

- หากต้องการแก้ไขการสะกด ชื่อ-นามสกุล สามารถแจ้งมาที่อีเมล Wanwisa.Su@chula.ac.th ภายในวันที่ 23 ก.ค. 64

- รับหลักฐานผ่านการอบรมด้วยตนเองหรือส่งตัวแทนมารับได้ที่ ศปอส. ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. - 30 ก.ย. 64



- การจัดอบรมยังดำเนินการจัดอบรมแม้ผู้สมัครอบรมไม่ครบตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด แต่มีการเปลี่ยนแปลงวันที่ต่าง ๆ ขอให้ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง

- ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมกรอกรายละเอียดสำหรับส่งอุปกรณ์ทางไปรษณีย์ลงในลิงก์ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64 https://forms.gle/kYFac1xDKNFMJSUCA

1. นางสาวเกื้อการุณย์ ครูส่ง ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
2. นายจิตรกร ทองนันท์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
3. เจษฎากร นิลรัตน์ สหสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
4. ชลิดา ลิ้มจีระจรัส ภาควิชาสรีรวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
5. ถนอมศุก เจียรนัยไพศาล ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
6. ธนยศ ศศิวิมลรัตนา จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
7. นายนพดล สะอาดเอี่ยม ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
8. นรินธร เคนหล้า สหสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
9. บัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
10. นางสาวพัชรี หมื่นอินกูด ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
11. นายวรวัฒน์ สุขคำ ศูนย์จุฬายีนโปร ฝ่ายวางแผน และพัฒนา คณะแพทยศาสตร์
12. ศศิประภา อโนมา จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
13. ศิรวุฒิ หิรัญอัศว์ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
14. สาริศา สุริยรักษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์
15. สุพิชชา สายทอง จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
16. อลิสา วังใน ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์

1. นางสาวเกื้อการุณย์ ครูส่ง ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
2. นายจิตรกร ทองนันท์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
3. เจษฎากร นิลรัตน์ สหสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
4. ชลิดา ลิ้มจีระจรัส ภาควิชาสรีรวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
5. ถนอมศุก เจียรนัยไพศาล ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
6. ธนยศ ศศิวิมลรัตนา จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
7. นายนพดล สะอาดเอี่ยม ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
8. นรินธร เคนหล้า สหสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
9. บัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
10. นางสาวพัชรี หมื่นอินกูด ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
11. นายวรวัฒน์ สุขคำ ศูนย์จุฬายีนโปร ฝ่ายวางแผน และพัฒนา คณะแพทยศาสตร์
12. ศศิประภา อโนมา จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
13. ศิรวุฒิ หิรัญอัศว์ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
14. สาริศา สุริยรักษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์
15. สุพิชชา สายทอง จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
16. อลิสา วังใน ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์

1. นางสาวเกื้อการุณย์ ครูส่ง ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
2. เจษฎากร นิลรัตน์ สหสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
3. ชลิดา ลิ้มจีระจรัส ภาควิชาสรีรวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
4. ถนอมศุก เจียรนัยไพศาล ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
5. ธนยศ ศศิวิมลรัตนา จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
6. นายนพดล สะอาดเอี่ยม ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
7. นรินธร เคนหล้า สหสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
8. บัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
9. นางสาวพัชรี หมื่นอินกูด ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
10. นายวรวัฒน์ สุขคำ ศูนย์จุฬายีนโปร ฝ่ายวางแผน และพัฒนา คณะแพทยศาสตร์
11. ศศิประภา อโนมา จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
12. ศิรวุฒิ หิรัญอัศว์ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
13. สาริศา สุริยรักษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์
14. สุพิชชา สายทอง จุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย
15. อลิสา วังใน ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์