หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (e-learning) ประจำปี พ.ศ.2565 - รุ่นที่ 11

โครงการพัฒนาหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

จัดโดย ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย

(หลักสูตรนี้ใช้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น)

1. หลักการและเหตุผล

    ตามที่ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให้อธิบดีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้บังคับ กอปรกับสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 797 วันที่ 27 ตุลาคม 2559 มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) โดยมีพันธกิจในการเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ที่ผ่านมา ศปอส.ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (จป.บริหาร) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยได้ว่าจ้างหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายมาให้การอบรม แต่ด้วยว่าต้องใช้เวลาอบรมจำนวน 12 ชั่วโมง (ต่อเนื่อง 2 วัน) ซึ่งทำให้ผู้บริหารจัดสรรเวลาเข้ารับการอบรมได้ยาก ส่งผลให้มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนด

      ดังนั้น ศปอส. ตามพันธกิจในการเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดให้มี “หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย และส่วนงานขึ้น เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่ต้องจัดให้มีผู้บริหารได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


2. วัตถุประสงค์

    เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของผู้บริหารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16


3. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย (อธิการบดี) และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย (รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี)
  • ผู้บริหารสูงสุดของส่วนงาน (คณบดี/ผู้อำนวยการ (สถาบัน ศูนย์ สำนัก)) และคณะผู้บริหารส่วนงาน (รองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดี/รองผู้อำนวยการ)
  • ผู้บริหารส่วนงานย่อย (หัวหน้าภาควิชา/ผู้อำนวยการฝ่าย) และคณะผู้บริหารส่วนงานย่อย (รองหัวหน้าภาควิชา/หัวหน้ากลุ่มภารกิจ/หัวหน้างาน)


4. ระยะเวลาการอบรม

     4 ชั่วโมง

5. สถานที่อบรม

    ห้องเรียนออนไลน์ SHECU Moodle 

                เข้าสู่การอบรมที่นี่  


6. กำหนดการอบรม
     เข้าดู วิดีทัศน์ ( 4 หมวดวิชา) และทำข้อสอบ ได้ทุกช่วงเวลา ในระหว่างวันที่  1-30 กันยายน 2565


7.  วิทยากรอบรม 

  • ศ.ดร.นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล       
  • รศ.ดร. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์         
  • ศ.ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์

 

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้บริหารส่วนงาน ทราบบทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใต้การบริหารของมหาวิทยาลัยและส่วนงาน

 

9. การประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล

    ผู้เข้าอบรมฟังบรรยายครบตามกำหนด และทำข้อสอบหลังการอบรมได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะได้รับวุฒิบัตรรับรองผ่านการอบรม 


10. เนื้อหาอบรม

หมวดวิชา

ผู้บรรยาย

1
 (60 นาที)

ความสำคัญของเรื่องความปลอดภัย
รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ 
นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
  • Thailand Vision Zero
  • 7 Golden Rules & Guides
  • วิสัยทัศน์ความปลอดภัยสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
  • ทิศทางการจัดการความปลอดภัยระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับมหาวิทยาลัยอื่น

2

(45 นาที)

การบริหารงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • การควบคุมความสูญเสียจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน
  • บทบาทหน้าที่ผู้บริหารเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ศ.ดร.นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
 ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ทฤษฎี/หลักการ/สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
  • โรคจากการทำงาน
  • กรณีตัวอย่างที่ทำให้เกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุในการทำงาน และโรคจากการทำงาน

3

(90 นาที)

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
รศ.ดร. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์
นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
  • กฎหมายหลัก พรบ.อาชีวอนามัย 2554 /มาตรา 3 วรรค 2 คู่มือความปลอดภัยฯ สำหรับหน่วยงานราชการ
  • กฎหมายที่สำคัญและจำเป็นที่เกี่ยวกับลักษณะงานที่มีความเสี่ยงภายในมหาวิทยาลัย เช่น สารเคมี รังสี ก่อสร้าง ไฟฟ้า ป้องกันระงับภัย ฯลฯ
  • พรบ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562

4

(45 นาที)

การจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แนวคิดการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์
 ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยฯ
  • ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยฯ
  • แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยฯ ด้านอาชีวอนามัย เคมี ชีวภาพ และรังสี
  • ฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยฯ
  • แอปพลิเคชันรายงานสภาพไม่ปลอดภัย (SHECU APP)




สามารถเข้าดู วิดีทัศน์ และทำข้อสอบ (e-learning)   ได้ทุกช่วงเวลา ในระหว่างวันที่  1-30 กันยายน 2565 ในห้องเรียนออนไลน์ SHECU Moodle  เข้าสู่การอบรมที่นี่  


1. นายต่อศักดิ์ พฤกษะริตานนท์ ศูนย์​บริการ​วิชาการ​แห่ง​จุฬา​ฯ​ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ
2. ผศ.ดร.นรลักขณ์ เอื้อกิจ พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์
3. นางนันทิยา ตงสาลี ฝ่ายวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์
4. วาสินี วิเศษฤทธิ์ ฝ่ายบริหาร คณะพยาบาลศาสตร์
5. สมชาย วงศ์รัตนรักษ์ ฝ่ายบริหาร คณะวิทยาศาสตร์
6. ผศ. ดร.สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
7. สุกัญญา ศรีจิตร ฝ่ายสิทธิประโยชน์และการดูแลทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
8. อำนาจ ม่วงจันทึก ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ

1. ผศ.ดร.นรลักขณ์ เอื้อกิจ พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์
2. นางนันทิยา ตงสาลี ฝ่ายวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์
3. ผศ. ดร.สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
4. อำนาจ ม่วงจันทึก ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ

1. ผศ.ดร.นรลักขณ์ เอื้อกิจ พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์
2. ผศ. ดร.สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์