ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6,872 views    
    [26 พ.ค. 63]    
   เรื่อง แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563    

       โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 6 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อธิการบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 จึงอนุมัติให้มีประกาศไว้ดังนี้

          ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหาร จัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563”

          ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

          ข้อ 3 ในประกาศนี้

          “ส่วนงาน” หมายความว่า ส่วนงานตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย

          “หัวหน้าส่วนงาน” หมายความว่า คณบดี ผู้อำนวยการส่วนงาน และรองอธิการบดีที่กำกับ การปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลหน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย

          “ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า หัวหน้าส่วนงาน หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนงานมอบหมาย

          ข้อ 4 ให้หัวหน้าส่วนงานมีหน้าที่จัดและดูแลสถานที่ทำงานและบุคลากรให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรมิ ให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย

          ข้อ 5 ให้ผู้รับผิดชอบของส่วนงานบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่แนบท้ายประกาศนี้

          ข้อ 6 ให้อธิการบดีรักษาการตามประกาศนี้

ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้เสนออธิการบดีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด


ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563


(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
ผู้รักษาการแทนอธิการบดี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตามความในข้อ 5 ของประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563

--------------------------------------------------

          เพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสอดคล้องกับมาตรฐานตามมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2554
          แนวปฏิบัติสำหรับส่วนงานต้องดเนินการมีดังนี้ 
          1.ให้หัวหน้าส่วนงานมอบหมายและแต่งตั้งบุคคล หรือคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบดูแลการดเนินการ  ตามมาตรฐาน กรณีที่ส่วนงานมีบุคลากรในส่วนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปให้จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย        อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทงาน (คปอ.) ของส่วนงาน โดยมีรายละเอียดตามตารางแสดง   องค์ประกอบของ คปอ. ตามจำนวนบุคลากรในส่วนงาน

จำนวน
บุคลากร
(คน)

จำนวนกรรมการ
(คน)

ประธาน (หัวหน้าส่วนงานหรือ
ผู้แทนระดับบริหารที่ได้รับการแต่งตั้ง)
(คน)

ผู้แทนบุคลากร  
ระดับหัวหน้างาน  
หรือเทียบเท่าขึ้นไป
(คน)

ผู้แทนบุคลากร
ผู้ปฏิบัติงานทั่วไป
(คน)

เลขานุการ
(คน)

50 - 99

5

1

1

2

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง

หรือ จป.วิชาชีพ)

100 - 499

7

1

2

3

1

(จป.วิชาชีพ)

500

ขึ้นไป

11

1

4

5

1

(จป.วิชาชีพ)

         
          2. จัดให้มีการฝึกอบรมแก่ คปอ. ของส่วนงาน ได้แก่
          - หลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
          - หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับผู้บริหาร
          - หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
          3. จัดให้มีนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของส่วนงานเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยหัวหน้าส่วนงาน
          4. จัดให้มีแผนงาน งบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ของส่วนงานเป็นประจำทุกปี
          5. จัดให้มีกฎ ระเบียบ หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยฯ ที่เหมาะสมภายในส่วนงาน
          6. ในกรณีที่มีการมอบหมายให้บุคลากรทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ผู้บังคับบัญชาต้องแจ้งบุคลากรให้ทราบถึงอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานก่อนมอบหมายงานดังกล่าว
          7. จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ ที่เหมาะสม ให้แก่ผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรทุกคน
          8. จัดให้มีสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ที่เหมาะสมภายในส่วนงาน เช่น สัญลักษณ์ทางหนีไฟ สัญลักษณ์อุปกรณ์ดับเพลิง เครื่องหมายเตือนอันตรายพื้นต่างระดับ เครื่องหมายเตือน อันตรายจากการกระแทก ลื่นไถล เครื่องหมายห้ามวางสิ่งกีดขวาง เครื่องหมายเตือนอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง และ การทาสีตีเส้นแบ่งเขตอันตรายและเขตสัญจร เป็นต้น
          9. เมื่อบุคลากรทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์หรือสถานที่ และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ให้แจ้งต่อบุคคลหรือคณะทำงานตามข้อ 1 หรือผู้บังคับบัญชาขั้นต้นเพื่อแจ้งให้ผู้บริหารหรือหัวหน้า ส่วนงานดำเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า
          10. จัดและดูแลให้มีการใช้และสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานเหมาะสมตามลักษณะงาน เช่น รองเท้ากันลื่น ถุงมือ หมวกนิรภัย เป็นต้น
          11. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและรองรับเหตุฉุกเฉิน ที่ครอบคลุมความเสี่ยงของส่วนงาน
          12. จัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
          13. จัดให้มีการสำรวจ หรือตรวจสอบ เพื่อประเมินสภาพการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น การตรวจวัดระดับความเข้มของแสงสว่างในสถานที่ทำงาน จัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิง การตรวจสอบเส้นทางหนีไฟมิให้มีสิ่งกีดขวางใด ๆ และจัดทำแผนการ ควบคุมหรือปรับปรุงแก้ไขด้านความปลอดภัยฯ ของส่วนงาน
          14. กรณีมีงานก่อสร้าง เช่น อาคาร งานขุด ซ่อมแซม ต่อเติม รื้อถอน เป็นต้น ต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาให้มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตามลักษณะงานตลอดระยะเวลาการทำงาน และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
          15. บุคลากรทุกคนในส่วนงานมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนด และให้ความร่วมมือเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ของส่วนงาน และให้ความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุน การดำเนินงาน หรือเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ของส่วนงาน
          16. จัดเก็บข้อมูลการประสบอันตรายจากการทำงานของส่วนงาน


ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563
   เรื่อง แนวปฏิบัติความปลอดภัย ด้านเคมี

        ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 

ด้านเคมี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563  

         

        โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ด้านเคมีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 6 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ  สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อธิการบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 จึงอนุมัติให้มีประกาศไว้ดังนี้

          ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ด้านเคมีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563”
          ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
          ข้อ 3 ในประกาศนี้
          “ส่วนงาน” หมายความว่า ส่วนงานตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย
          “หัวหน้าส่วนงาน” หมายความว่า คณบดี ผู้อำนวยการส่วนงาน และรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลหน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย
          “ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า หัวหน้าส่วนงาน หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนงานมอบหมาย
          ข้อ 4 ให้หัวหน้าส่วนงานมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของนิสิตและบุคลากรมิให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขอนามัย
          ข้อ 5 ให้ผู้รับผิดชอบของส่วนงานบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมด้านเคมี ให้เป็นไปตามหลักสากลเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของนิสิตและบุคลากร โดยให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่แนบท้ายประกาศนี้
          ข้อ 6 ให้อธิการบดีรักษาการตามประกาศนี้
          ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้เสนออธิการบดีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด


ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
ผู้รักษาการแทนอธิการบดี

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามความในข้อ 5 ของประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านเคมีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563

--------------------------------------------------

          เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านเคมีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นไปตามหลักสากล สามารถนำไปใช้จัดการความเสี่ยง ตลอดจนให้ความรู้และยกระดับความปลอดภัยในการทำงานของนิสิตและบุคลากร
          แนวปฏิบัติสำหรับส่วนงานต้องดำเนินการ มีดังนี้
          1. กำกับให้ทุกห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมี ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการในระบบ CU Lab ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ESPReL ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการจัดการข้อมูลห้องปฏิบัติการ (SHE-CH-PM-001)
          2. กำกับให้ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการและคลังกลางเก็บสารเคมี บันทึกและปรับปรุงข้อมูลการครอบครองสารเคมีลงในฐานข้อมูลสารเคมี (ChemTrack & WasteTrack) ให้มีความเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอตามเอกสาร “ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมี (SHE-CH-PM-002)” และ “แนวปฏิบัติสำหรับคลังกลางเก็บสารเคมีระดับส่วนงานย่อย (SHE-CH-PM-003)
          3. กำกับให้ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการและคลังกลางเก็บสารเคมีที่มีของเสียอันตรายอันเกิดจากการใช้สารเคมี บันทึกข้อมูลของเสียอันตรายลงในฐานข้อมูลของเสียอันตราย (ChemTrack & WasteTrack) ก่อนส่งไปบำบัดตามวิธีการที่เหมาะสมตามเอกสาร “ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยของเสียอันตรายทางเคมี (SHE-CH-PM-004)
          4. แจ้งให้ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการทุกคนทราบถึงวิธีการทำงานที่เหมาะสมภายในห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสภาวการณ์ทำงานที่อันตราย เพื่อความปลอดภัยต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและสังคม โดยรอบ ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการทำงานในห้องปฏิบัติการ (SHE-CH-PM-005)
          5. กำกับให้ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการและคลังกลางเก็บสารเคมีดำเนินการประเมินอันตรายและความเสี่ยงภายในห้องปฏิบัติการและคลังกลางเก็บสารเคมีเป็นระยะ ๆ ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงและอันตราย (SHE-CH-PM-006)
          6. กำหนดขั้นตอนการบริหาร จัดการอุบัติการณ์ เพื่อป้องกัน รับมือหรือบรรเทาความรุนแรงจากอุบัติการณ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงกำหนดขั้นตอนหรือสิ่งที่ต้องดำเนินการหลังอุบัติการณ์จบสิ้นลงแล้ว ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการจัดการอุบัติการณ์ (SHE-CH-PM-007)
          7. กำกับดูแลให้ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการมีความรู้ที่เหมาะสมต่อการทำงานอย่างปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ    โดยการจัดอบรมหรือกำหนดให้ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการเข้าอบรมหลักสูตรที่ ศปอส. จัดขึ้นหรือหลักสูตรเทียบเท่า ตามความเหมาะสมกับลักษณะงานที่ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการเกี่ยวข้อง รวมถึงเก็บข้อมูลผู้ผ่านการอบรมไว้เป็นหลักฐานและไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการที่ยังไม่ได้ผ่านการอบรมในหลักสูตรตามเกณฑ์ที่ ศปอส. ประกาศไว้หรือ หลักสูตรเทียบเท่าเข้าใช้ห้องปฏิบัติการ ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการพัฒนานิสิต นักวิจัย คณาจารย์                และเจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ (SHE-CH-PM-008)
          ทั้งนี้ เอกสารตาม ข้อ 1 ถึง ข้อ 7 สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) ได้ที่ www.shecu.chula.ac.th

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมด้านเคมี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563
แนวปฏิบัติความปลอดภัยด้านเคมี
   เรื่อง แนวปฏิบัติความปลอดภัย ทางรังสี

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทางรังสี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563   


         โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทางรังสีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 6 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อธิการบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 จึงอนุมัติให้มีประกาศไว้ดังนี้
          ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทางรังสีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563”
          ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
          ข้อ 3 ในประกาศนี้
          “ส่วนงาน” หมายความว่า ส่วนงานตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย
          “หัวหน้าส่วนงาน” หมายความว่า คณบดี ผู้อำนวยการส่วนงาน และรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลหน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย
          “ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า หัวหน้าส่วนงาน หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนงานมอบหมาย
          ข้อ 4 ให้หัวหน้าส่วนงานมีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ผู้ที่เกี่ยวข้องทางรังสี ประชาชนทั่วไป และสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางควบคุมให้ได้รับรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
          ข้อ 5 ให้ผู้รับผิดชอบของส่วนงานบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทางรังสี ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน  ของนิสิตและบุคลากร ตามแนวปฏิบัติที่แนบท้ายประกาศนี้
          ข้อ 6 ให้อธิการบดีรักษาการตามประกาศนี้
          ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้เสนออธิการบดีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด


ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563


(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
ผู้รักษาการแทนอธิการบดี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางรังสี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามความในข้อ 5 ของประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทางรังสีของจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย พ.ศ. 2563

--------------------------------------------------

          เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางรังสีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559
          แนวปฏิบัติสำหรับส่วนงานต้องดำเนินการ มีดังนี้
          1. จัดให้ผู้ที่ปฏิบัติงานทางรังสีและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับความรู้ทางด้านรังสี ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทางด้านรังสี (SHE-RS-PM-001)
          2. ยื่นขอรับใบอนุญาตตามเอกสาร “แนวปฏิบัติเพื่อขอรับใบอนุญาตหรือขอแจ้งการครอบครองหรือใช้เกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดรังสี (SHE-RS-PM-002)
          3. จัดการกากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการ ซึ่งวิธีการจัดการจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของกากกัมมันตรังสี ห้องปฏิบัติการสามารถจัดการได้ด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นจัดการให้แทน ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติในการจัดการกากกัมมันตรังสี (SHE-RS-PM-003)
          4. ควบคุมการเคลื่อนย้าย วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ เครื่องกำเนิดรังสี และกากกัมมันตรังสี ทั้งภายในและภายนอกส่วนงาน/หน่วยงาน เพื่อป้องกันมิให้มีการเคลื่อนย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ เครื่องกำเนิดรังสี และกากกัมมันตรังสี (SHE-RS-PM-004)
          5. จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ เครื่องกำเนิดรังสี และกากกัมมันตรังสี เพื่อป้องกันการเข้าถึงวัสดุดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติเพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี (SHE-RS-PM-005)
          6. จัดทำแผนการดำเนินการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็น และดำเนินการฝึกซ้อมตามช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีและการฝึกซ้อม (SHE-RS-PM-006)
          7. กำกับดูแลให้ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทางรังสี เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ตามเอกสาร “หน้าที่ของส่วนงาน/หน่วยงานที่รับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดรังสี (SHE-RS-SD-001)"
          8. จัดสถานที่จัดเก็บวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ หรือสถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดรังสี โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและผลกระทบถึงประชาชนทั่วไป และต้องมีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีที่เหมาะสม ตามเอกสาร “ข้อแนะนำสำหรับการจัดสถานที่จัดเก็บวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดรังสี (SHE-RS-SD-002)
          9. วางมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสีในเขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง และแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ทางรังสี เพื่อเป็นการเตือนภัยบุคคลที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปจากอันตรายทางรังสีที่อาจเกิดขึ้น โดยมีแนวทางการจัดแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการทางรังสี ตามเอกสาร “ข้อแนะนำสำหรับการเลือกใช้พื้นที่และการแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการทางรังสี (SHE-RS-SD-003)
          10. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี หรือผู้รับผิดชอบทางรังสี ต้องควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องทางรังสี ได้รับทราบแนวปฏิบัติในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการรังสี อย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้ได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกายเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ตามเอกสาร “ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องกับวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดรังสี (SHE-RS-SD-004)
          11. จัดให้มีการควบคุม ทดสอบ ตรวจสอบ เครื่องสำรวจรังสี และเครื่องกําเนิดรังสี ซึ่งมีการแสดงถึงค่าความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความแม่นยำของเครื่องมือ และจัดเก็บบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติระบบประกันคุณภาพเครื่องสำรวจรังสีและเครื่องกําเนิดรังสี (SHE-RS-SD-005)
          ทั้งนี้ เอกสารตาม ข้อ 1 ถึง ข้อ 11 สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) ได้ที่ www.shecu.chula.ac.th

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทางรังสีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยด้านรังสี
   เรื่อง แนวปฏิบัติความปลอดภัยทางชีวภาพ  และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ

และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563


         โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 6 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อธิการบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 จึงอนุมัติให้มีประกาศไว้ดังนี้
          ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563”
          ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
          ข้อ 3 ในประกาศนี้
          “ส่วนงาน” หมายความว่า ส่วนงานตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย
          “หัวหน้าส่วนงาน” หมายความว่า คณบดี ผู้อำนวยการส่วนงาน และรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลหน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย
          “ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า หัวหน้าส่วนงาน หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนงานมอบหมาย
          ข้อ 4 ให้หัวหน้าส่วนงานมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของนิสิตและบุคลากรให้มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
          ข้อ 5 ให้ผู้รับผิดชอบของส่วนงานบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 และหลักวิชาการ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตามแนวปฏิบัติที่แนบท้ายประกาศนี้
          ข้อ 6 ให้อธิการบดีรักษาการตามประกาศนี้
          ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้เสนออธิการบดีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด


ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
อธิการบดี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามความในข้อ 5 ของประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563

---------------------------------------------

          เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 และหลักวิชาการ
          แนวปฏิบัติสำหรับส่วนงานต้องดำเนินการ มีดังนี้
          1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและส่วนงานแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ (SHE-BS-PM-001)
          2. กำกับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ดำเนินการแจ้งการใช้เชื้อโรค กลุ่มที่ 2 หรือพิษจากสัตว์ กลุ่มที่ 1 เพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง ขออนุญาตการใช้เชื้อโรค กลุ่มที่ 3 หรือพิษจากสัตว์ กลุ่มที่ 2 เพื่อขอรับใบอนุญาต และส่งรายงานประจำปี พร้อมทั้งดำเนินการอื่น ๆ ตามระบบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการแจ้ง ใบอนุญาต และรายงานประจำปีตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 (SHE-BS-PM-002)
          3. กำกับให้หัวหน้าโครงการวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องส่งข้อเสนอโครงการวิจัยให้คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือของส่วนงานเพื่อพิจารณาด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (SHE-BS-PM-003)
          4. กำกับให้ทุกห้องปฏิบัติการทางชีวภาพขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการในระบบ CU Lab ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประเมินความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการด้วย Biosafety Level (BSL) Checklist ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการขึ้นทะเบียนและการประเมินความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ (SHE-BS-PM-004)
          5. กำกับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการทางชีวภาพปฏิบัติงาน ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ (SHE-BS-PM-005)
          6. กำกับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการความเสี่ยงตามระบบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการจัดการความเสี่ยง (SHE-BS-PM-006)
          7. กำกับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดการของเสียอันตรายทางชีวภาพ ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการจัดการของเสียอันตรายทางชีวภาพ (SHE-BS-PM-007)
          8. กำกับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนป้องกันและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน และปฏิบัติให้เป็นไปตามระบบรายงานอุบัติการณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการจัดการอุบัติการณ์ (SHE-BS-PM-008)
          9. กำกับให้ผู้ควบคุมดูแลและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้รับการอบรมที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ตามเอกสาร “แนวปฏิบัติการพัฒนานิสิตและบุคลากร (SHE-BS-PM-009)
          ทั้งนี้ เอกสารตาม ข้อ 1 ถึง ข้อ 9 สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) ได้ที่ www.shecu.chula.ac.th

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
   เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยฯ
 เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยฯ (6 MB)