ลักษณะของห้องปฏิบัติการปลอดภัย มีดังนี้
(อ้างอิงจาก คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.), 2560.)
ESPReL Checklist เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการด้านเคมีและระบบประมวลผล พัฒนาโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 2557 (คู่มือและแบบประเมิน ESPReL)
การยกระดับความปลอดภัยเป็นวงจรของการพัฒนาซึ่งอาจพิจารณาได้เป็น 3 ระดับ ตามลำดับ ดังนี้
บันได 3 ขั้น แสดงการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
(อ้างอิงจาก คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.), 2560.)
รูปธรรมของห้องปฏิบัติการปลอดภัย เป็นส่วนสำคัญยิ่งในการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาจจำแนกเป็นรูปธรรมของกระบวนการและรูปธรรมของผลผลิต ดังตารางข้างล่างนี้เพื่อเป็นตัวอย่างของการพัฒนาให้เกิดความปลอดภัยขึ้น
หัวข้อ | องค์ประกอบความปลอดภัย | รูปธรรมของกระบวนการ | รูปธรรมของผลผลิต |
1 | การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย | - มีนโยบาย/ประกาศ/แผน เพื่อให้ดำเนินการจากระดับบริหารเช่น ระดับห้องปฏิบัติการ ระดับภาคฯ ระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัย - มีกระบวนการพิจารณาร่วมกันในการทำแผน (เช่น แผนการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมี) มีการสนับสนุนอย่างชัดเจน (เช่น งบประมาณ บุคลากร ฯลฯ) - มีแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน/ระบบทบทวนการดำเนินงาน - มีผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยทุกระดับ | - ประกาศ/คำสั่ง แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ - มีแผนแม่บทหรือนโยบายประกาศใช้และมีแผนปฏิบัติที่มีขั้นตอนการ ดำเนินงานและการสนับสนุนอย่างชัดเจน - มีรายงานการประเมินผลการดำเนินงาน - มี Safety Management Plan |
2 | ระบบการจัดการวัสดุในห้องปฏิบัติการ | - มีการตกลงร่วมของวิธีปฏิบัติในการจัดการข้อมูลสารเคมี วัสดุกัมมันตรังสี และสารชีวภาพ การจัดเก็บและการเคลื่อนย้าย - มีการติดตาม ตรวจสอบและการใช้ประโยชน์จากข้อมูล | - สารบบข้อมูลสารเคมี วัสดุกัมมันตรังสี และสารชีวภาพ และ Safety Data Sheet (SDS) - การประเมินความเสี่ยง เช่น สารที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงสุดของห้องปฏิบัติการคืออะไร/ปริมาณเท่าใด - การจัดเก็บสารเคมี วัสดุกัมมันตรังสี และสารชีวภาพ เหมาะสมตามความเป็นอันตรายของสารและมีการเก็บตามกลุ่มเพื่อความปลอดภัย - การเคลื่อนย้ายสารด้วยวิธีที่เหมาะสม โดยมีเครื่องป้องกันภาชนะบรรจุสารตกแตกและหกรั่วไหล - มีระเบียบ หรือ ข้อตกลงร่วมกัน/กระบวนการในการปฏิบัติเฉพาะหน่วยงาน |
3 | ระบบการจัดการของเสียอันตราย | - มีการตกลงร่วมของวิธีปฏิบัติในการ จำแนกประเภทและการจัดการการทิ้ง ของเสียอันตราย | - การจัดการประเภทของเสีย มีการปฏิบัติอย่างชัดเจนจากต้นทางรวมทั้งมีการจัดการทิ้งให้ถึงปลายทางอย่างถูกต้อง - มีแนวทางในการลดของเสีย เช่น ลดการใช้ตั้งแต่ต้นทาง หรือเปลี่ยนวิธีการทดสอบ เป็นต้น |
4 | ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ | - มีการตกลงร่วมของวิธีปฏิบัติในการใช้ พื้นที่ การจัดระเบียบ และการดูแลรักษาระบบ | - จัดการการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม และเป็นระเบียบปลอดภัย เช่น การจัดพื้นที่ (zoning) - จัดวางและติดตั้งครุภัณฑ์อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดอันตราย - ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและไฟฟ้ากำลังเพียงพอในการทำงาน - มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมสำหรับห้องปฏิบัติการ/ตู้ดูดควันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ในกรณีที่มีตู้ดูดควัน) ระบบต่าง ๆ มีการดูแลและบำรุงรักษา |
5 | ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย | - มีการตกลงร่วมกันในวิธีปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน - มีการนำรายงานอุบัติภัยมาอภิปรายและวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อทำให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงจริงในการปฏิบัติ (การประเมินผลและวางแผนการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง) | - แผนผังทางหนีไฟปรากฏให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจนโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง - อุปกรณ์สำหรับรับเหตุฉุกเฉินติดตั้งอย่างถูกต้องและใช้งานได้จริง - จัดทำและจัดเก็บรายงานการเกิดอุบัติภัย การประเมินความเสี่ยง ซึ่งนำไปใช้ในการวางแผนและใช้เพื่อการเรียนรู้ - มีระเบียบปฏิบัติและป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัยติดประกาศไว้ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน - มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ที่เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน |
6 | การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ | - มีการติดตามว่าบุคลากรระดับต่าง ๆ ได้รับการกระตุ้นหรือเพิ่มเติมความรู้อย่างต่อเนื่อง - มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน | ให้ความรู้พื้นฐานที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มีแผนการให้ความรู้แก่บุคลากร (เช่น refresh training/กระบวนการกระตุ้นจิตสำนึก เป็นต้น) |
7 | การจัดการข้อมูลและเอกสาร | - มีการร่วมกันพิจารณารูปแบบและการจัดเก็บเอกสาร - มีระบบการทบทวน – ปรับปรุงการจัดการข้อมูลและเอกสาร | - จัดเก็บเอกสารและระบบที่สืบค้นได้ง่าย - มีเอกสารคู่มือระบบการจัดการเอกสารและการปฏิบัติงาน (SOP) - มี Safety Data Sheet (SDS) ที่เข้าถึงได้ - มีการจัดเก็บรายงานอุบัติภัยที่เกิดขึ้นเพื่อถอดบทเรียน |
(อ้างอิงจาก คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.), 2560.)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการวิจัยจำนวนหนึ่งที่มีการดำเนินงานพัฒนาและยกระดับความปลอดภัยในขั้นต่างๆ จากระดับพื้นฐานด้วยการใช้ ESPRel Checklist ยกระดับโดยการแก้ไขและยกระดับเป็นห้องปฏิบัติการปลอดภัยระดับต้นแบบเฉพาด้านและแบบครบทั้ง 7 องค์ประกอบ และดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนได้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677 - 2558, เล่มที่1 และเล่มที่ 2) ซึ่งเป็นความสำเร็จและความก้าวหน้าที่น่าภาคภูมิใจ มีดังนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 08 9152 2626 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |