ใบรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ประกอบการเบิก "ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
เนื่องด้วยคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเห็นชอบให้ขยายผลการใช้ “ใบรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี” ให้ครอบคลุมถึงนิสิตที่ได้รับทุนจากบัณฑิตวิทยาลัยด้วย เพื่อให้เป็นระบบและมาตรฐานเดียวกันในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการนี้ ศปอส. จึงขอแจ้งยกเลิกการออก “ใบรับรองการจัดการสารเคมี” และใช้ “ใบรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี” แทน ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
เงื่อนไขการออก “ใบรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี” (1) (2)
1. นิสิตที่ทำปฏิบัติการ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี สำหรับนิสิตที่ทำวิจัยและนักวิจัย (คลิก)
* กรณี นิสิตต่างชาติ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร Chemical Safety Training for Research Students and Researchers (For foreigners and international programs)
2. นิสิตทำปฏิบัติการ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้งานโปรแกรม ChemTrack & WasteTrack เพื่อจัดการข้อมูลสารเคมีและของเสียสารเคมี (คลิก)
* กรณี นิสิตต่างชาติ ต้องผ่านอบรมหลักสูตร Training on the Use of ChemTrack & WasteTrack 2016 Program for Chemical and Chemical Waste Data Management (Eng version: e-Learning).
3. ห้องปฏิบัติการที่นิสิตปฏิบัติงานต้องปรับปรุงข้อมูลสารเคมีในโปรแกรม ChemTrack&WasteTrack อย่างน้อยทุก 6 เดือน (คลิก)
4. ห้องปฏิบัติการที่นิสิตปฏิบัติงาน ต้องลงทะเบียนในระบบ CU Lab และมีการจัดทำ CU Lab form ประจำปีล่าสุดในปีที่ขอใบรับรองนักวิจัยฯ รายละเอียดเพิ่มเติม (คลิก)
5. ห้องปฏิบัติการที่นิสิตปฏิบัติงาน ต้องลงทะเบียนในระบบ ESPReL และจัดทำ ESPReL Checklist (ผลการประเมิน ESPReL Checklist ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นขอใบรับรองนักวิจัยฯ)
หมายเหตุ
(1) ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2566 วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 และคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2566 วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566
(2) กรณี นิสิตจุฬาฯ ที่ทำปฏิบัติการภายนอกมหาวิทยาลัย ให้อาจารย์ที่ปรึกษาส่งบันทึกข้อความยืนยันการทำปฏิบัติการภายนอกจุฬาฯ ถึงคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ
** หากมีความประสงค์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ นางสาวเทพฤดี ศิริโชติบัณฑิต โทรศัพท์ 0-2218-6174 หรือ อภิสิทธิ์ ดุมลักษณ์ โทรศัพท์ 02-218-6179 อีเมล shecu@chula.ac.th
ตัวอย่างใบรับรองนักวิจัย
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |