การรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อประกอบการขอทุนกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ผ่านระบบ NRIIS
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการจัดการปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการดำเนินโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand, "ESPReL") ในปี พ.ศ. 2555 ทำให้เกิด "คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ" และเครื่องมือในการประเมินสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ หรือ ESPReL Checklist ที่ห้องปฏิบัติการสามารถใช้สำรวจและประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการได้ด้วยตนเอง และใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนงานและกิจกรรมการพัฒนายกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ต่อมา วช. ได้ขยายผลพัฒนาเป็น "มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558)" และ "ระบบการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการในรูปแบบการยอมรับร่วม (peer evaluation)"
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านเคมีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563 และแนวปฏิบัติของ วช.
การออกใบรับรองนักวิจัยฯ มีเงื่อนไข ดังนี้
1. ห้องปฏิบัติการที่นักวิจัยปฏิบัติงาน ต้องลงทะเบียนในระบบ CU Lab และมีการจัดทำ CU Lab form ประจำปีล่าสุดในปีที่ขอใบรับรองนักวิจัยฯ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก และ
2. ห้องปฏิบัติการที่นักวิจัยปฏิบัติงาน ต้องลงทะเบียนในระบบ ESPReL และจัดทำ ESPReL Checklist (ผลการประเมิน ESPReL Checklist ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นขอใบรับรองนักวิจัยฯ) และ
3. ห้องปฏิบัติการปรับปรุงข้อมูลสารเคมีในโปรแกรม ChemTrack&WasteTrack อย่างน้อยทุก 6 เดือน และ
4. กรณีนักวิจัยหรืออาจารย์ที่ขอใบรับรองนักวิจัยฯ ต้องผ่านการอบรม หลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ดังนี้ **
- หลักสูตรความปลอดภัยใน การทำงานกับสารเคมี สำหรับผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ มีการเปิดอบรมทุก 3 เดือน ปีละ 4 ครั้ง โดยสามารถลงทะเบียนอบรมได้ที่ https://www.shecu.chula.ac.th/home/train-table.asp
- หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี สำหรับนิสิตที่ทำวิจัยและนักวิจัย มีการเปิดอบรมทุก ๆ เดือน โดยสามารถลงทะเบียนอบรมได้ที่ https://www.shecu.chula.ac.th/home/train-table.asp
- หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี สำหรับนิสิตที่ทำวิจัยและนักวิจัย สำหรับอาจารย์จุฬาฯ สามารถลงทะเบียนและเข้าอบรมได้ตลอดเวลา ที่ https://www.shecu.chula.ac.th/home/train-list.asp?train=482
5. กรณีนิสิตที่ขอใบรับรองนักวิจัยฯ ต้องผ่านการอบรม หลักสูตรต่อไปนี้
- หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี สำหรับนิสิตที่ทำวิจัยและนักวิจัย มีการเปิดอบรมทุก ๆ เดือน โดยสามารถลงทะเบียนอบรมได้ที่ https://www.shecu.chula.ac.th/home/train-table.asp
* กรณี นิสิตต่างชาติ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร Chemical Safety Training for Research Students and Researchers (For foreigners and international programs)
- หลักสูตรการใช้งานโปรแกรม ChemTrack & WasteTrack เพื่อจัดการข้อมูลสารเคมีและของเสียสารเคมี มีการเปิดอบรมทุก ๆ เดือน โดยสามารถลงทะเบียนอบรมได้ที่ https://www.shecu.chula.ac.th/home/train-table.asp
* กรณี นิสิตต่างชาติ ต้องผ่านอบรมหลักสูตร Training on the Use of ChemTrack & WasteTrack 2016 Program for Chemical and Chemical Waste Data Management (Eng version: e-Learning).
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ดร.ขวัญนภัส สรโชติ โทรศัพท์ 02-218-5213 หรือ อภิสิทธิ์ ดุมลักษณ์ โทรศัพท์ 02-218-6179 อีเมล shecu@chula.ac.th
ตัวอย่างใบรับรองนักวิจัย
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |