สาระสำคัญ: นโยบายและการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (พ.ศ. 2566-2570) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.): (6 นโยบาย 4 ยุทธศาสตร์)
1,101 views
ดร.ขวัญนภัส สรโชติ และ ดร.องอาจ ธเนศนิตย์ [12 พ.ค. 66]
เป้าประสงค์
- เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน
- มีการจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- หน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุนห้องปฏิบัติการ ให้สามารถดำเนินงานได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย
นโยบายฯ
- ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีต้องมีความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ วช. กำหนด
- มาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ที่ วช. กำหนด สอดคล้องกับ พรบ.อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
- วช. ร่วมขับเคลื่อนให้เกิด ระบบเชื่อมโยงและประเมินการดำเนินงานการจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ กับระบบการจัดสรรทุน ที่มีประสิทธิภาพ
- วช. ส่งเสริมให้เกิดหน่วยและระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการฯ ที่มีประสิทธิภาพ
- วช. สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ สามารถบริหารจัดการ และตรวจประเมินติดตามผลให้เกิดความปลอดภัยห้องปฏิบัติการฯ ได้อย่างต่อเนื่อง
- วช. สร้างความร่วมมือด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการฯ ทั้งระดับชาติและนานาชาติ เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์ฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการและขับเคลื่อนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ตามเป้าหมายสำคัญของประเทศ (ตอบสนองตามนโยบายข้อ 1, 3 และ 4)
กลยุทธ์
- ส่งเสริมให้ระบบจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเชื่อมโยงเป้าหมายสำคัญของประเทศ เช่น NQI SDGs Happy Workplace
- ผลักดันให้เกิดหน่วยงานบริหารระบบจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการภายในองค์กร
- ส่งเสริมให้มีหน่วยบริหารจัดการภายในองค์กร ที่สามารถสนับสนุนด้านเทคนิค ด้านการตรวจประเมิน ด้านการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ
- ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
- ผลักดันให้มีการเชื่อมโยงกับการจัดสรรทุนวิจัย
- ผลักดันให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (ตอบสนองตามนโยบายข้อ 5)
กลยุทธ์
- ปลูกฝังวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยของบุคลากรในองค์กร
- พัฒนาหลักสูตรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
- สร้างศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้ตรวจประเมิน โดยใช้กระบวนการ Peer Evaluation หรือ อื่นๆ
- เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยบริหารจัดการของ วช. ในการกำกับดูแลอย่าง เป็นระบบ
- สนับสนุนการนำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในเวทีระดับชาติ และนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยมีความยั่งยืน (ตอบสนองตามนโยบายข้อ 2 และ 6)
กลยุทธ์
- ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
- ผลักดันให้มาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นที่ยอมรับ และยกระดับเป็นมาตรฐานระดับประเทศ
- มาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมถึง วัตถุอันตราย และอาชีวอนามัย
- สร้างและพัฒนาระบบที่เป็นเครื่องมือ (tools) ที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้เกิดความยั่งยืน (ตอบสนองตามนโยบายข้อ 3 และ 5)
กลยุทธ์
- วช. สนับสนุนงบประมาณ และดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดของเครือข่าย
- วช. สนับสนุนงบประมาณร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายแบบ Matching Fund ด้านการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย
สาระสำคัญ: นโยบายและการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (พ.ศ. 2566-2570) (64 KB)
ประกาศ วช. เรื่อง นโยบายและการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (พ.ศ. 2566-2570) (1 MB)