“เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องของทุกคน” การสร้างความตระหนัก ให้ความรู้ ปลูกฝังจิตสำนึก ความใส่ใจด้านความปลอดภัยให้กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยในวันหน้า การสร้าง “Safety mindset” ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงเป็นการปูทางการขับเคลื่อนความปลอดภัยในสังคมไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ยั่งยืน
วันนี้ (19 พฤษภาคม 2565) เวลา 15.10 – 15.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวนการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) หรือ SHECU ได้รับเชิญร่วมพิธีเปิดงานและเป็นวิทยากรพิเศษบรรยาย หัวข้อ “Cultivating Safety Mindset for New Generation” การปลูกจิตสำนักด้านความปลอดภัยในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ภายในงานสัมมนาด้านความปลอดภัยในการทํางานระดับนานาชาติ (OSH Avenue International Conference 2023 : OAIC 2023) จัดขึ้นโดย สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)สสปท. หรือ T-OSH โดยมี ศปอส. จุฬาฯ และ Nation Building Institute เป็นพาร์ทเนอร์หลัก พร้อมหน่วยงานพันธมิตรด้านวิชาการอื่น ๆ จัดขึ้น ณ ห้อง Grand Hall ชั้น 3 True Digital Park สุขุมวิท 101 ระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2566
การปลูกฝังจิตสำนักด้านความปลอดภัยให้กับนิสิตจุฬาฯ ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจภูมิทัศน์ (Perspective) ด้านความปลอดภัยและลักษณะความสนใจของคนรุ่นใหม่เพื่อวางแนวทางการสื่อสาร เพื่อสร้างความตระหนัก ทั้งนี้แนวทางการปลูกฝังจิตสำนึกของกลุ่มคนรุ่นใหม่ภายในจุฬาฯ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ “การทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัย” (Education) “การสื่อสารสร้างความตระหนัก ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมและประสบการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย” (Communication & Collaboration) ภายใต้ “แนวคิดความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบและความร่วมมือของทุกคน” (Safety is a share responsibility)
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ได้นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเชิงนโยบายและบทบาทการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของ ศปอส. ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการปลูกฝังจิตสำนึก ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้กับนิสิตจุฬาฯ รวมถึงนำเสนอกิจกรรมรณรงค์และการสื่อสารด้านความปลอดภัยในจุฬาฯ ที่ดำเนินการโดยนิสิตตัวแทนด้านความปลอดภัย (Chula Safety Ambassador) เพื่อผลักดันให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแบบอย่างให้นิสิตโดยทั่วไปมีความใส่ใจต่อความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้มีเป้าหมายให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะนำไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัย ตามแนวคิดมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |