จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2565 – 2569 ที่มุ่งสร้างและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเป็นระบบ พร้อมส่งเสริมให้ประชาคมจุฬาฯ ปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมตามกิจวัตรได้อย่างปลอดภัย มีอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมายและมาตรฐานระดับสากล และให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพ นิสิต คณาจารย์ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ รวมถึงส่งเสริมให้มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยที่นำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามหลักการและมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเทคโนโลยีและสังคมที่รวดเร็ว เพื่อให้ประชาคมจุฬาฯ มีศักยภาพและความพร้อมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในเชิงป้องกันสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ “สร้างและพัฒนาคน สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม ชี้นำขับเคลื่อนสังคมไทยและสังคมโลกภายใต้การพัฒนาที่อย่างยั่งยืน”
ดังนั้นเพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นแบบอย่างและยั่งยืน ด้วยพันธกิจการเสริมสร้างมหาวิทยาลัยที่ปลอดอุบัติเหตุ (Zero Accident) คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คปอ. จุฬาฯ) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม และ ศปอส. ร่วมกับหน่วยงานภายนอก 2 แห่ง คือ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) และสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ได้กำหนดให้จัดกิจกรรมงานสัปดาห์ความปลอดภัยประจำปีงบประมาณ 2566 “Chula Safety 2023 : Wellwork & Wellbeing: Thriving Together ร่วมสร้างความปลอดภัยสู่สุขภาวะในการทำงานที่ดีอย่างยั่งยืน” โดยมี ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมจัดนิทรรศการและดำเนินงานในครั้งนี้ด้วย
สนใจร่วมงานและกิจกรรมในงาน Chula Safety 2023 : Wellwork & Wellbeing: Thriving Together ร่วมสร้างความปลอดภัยสู่สุขภาวะในการทำงานที่ดีอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 16 - 18 สิงหาคม 2566 ณ อาคารจามจุรี 9 ชั้น 3 ห้อง 306 - 307 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียน คลิกที่นี่
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |