จุดประสงค์
เพื่อคัดเลือกตัวแทนนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ที่มีความสนใจในเรื่อง “ความปลอดภัย” “สภาพแวดล้อมที่ดีในการเรียนและการทำงาน” มีความสามารถในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ศปอส. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัย ภายในประชาคมจุฬาฯ
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิตและบุคลากร จุฬาฯ เท่านั้น
ขั้นตอนการสมัคร (*ต้องดำเนินการทุกขั้นตอนให้ครบถ้วนตามประเภทการสมัคร และต้องมีการ login ด้วย gmail ในการอัพโหลดไฟล์ต่าง ๆ)
คำอธิบายเพิ่มเติม “Safety 24 -7 ความปลอดภัยเริ่มต้นที่ตัวเรา” หมายถึง พฤติกรรมที่ควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ควรปฏิบัติ (unsafe act) ที่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการจัดการให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยต่อการเรียนการทำงาน ตัวอย่าง พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย เช่น การใช้โทรศัพท์ขณะข้ามถนน ความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า ความปลอดภัยในการใช้งานอาคารและการสังเกตุสัญลักษณ์ความปลอดภัยภายในอาคาร การใช้เชื้อเพลิงปรุงอาหารเพื่อป้องกันอัคคีภัย ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีชีวิตประจำวัน เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์ทำสีผม ความปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 การป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงาน เช่น ออฟฟิศซินโดรม โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นต้น ตัวอย่าง สภาพแวดล้อมที่ดี เช่น ห้องเรียนหรือห้องทำงานที่มีแสงสว่าง อุณหภูมิ ความชื้นที่เหมาะสม |
ประเภทการประกวดและรางวัล
นิสิต หรือบุคลากร ผู้ได้รับ ตำแหน่ง Chula Safety Ambassador 2024
ผู้ที่ได้ตำแหน่งจะได้รับรางวัลสมนาคุณมูลค่าคนละ 4,000 บาท จำนวน 10 คน
รางวัล ผลงานการออก แบบสื่อ ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ดีเด่น จำนวน 10 รางวัล
1) รางวัล The Excellence จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 3,000 บาท
1.1) ประเภท อินโฟกราฟิก 1 รางวัล
1.2) ประเภทคลิปวิดีโอสั้น 1 รางวัล
2) รางวัล Popular Vote จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 2,000 บาท
2.1) ประเภท อินโฟกราฟิก 1 รางวัล
2.2) ประเภทคลิปวิดีโอสั้น 1 รางวัล
3) รางวัล Rising Star จำนวน 6 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท
3.1) ประเภท อินโฟกราฟิก 3 รางวัล
3.2) ประเภทคลิปวิดีโอสั้น 3 รางวัล
เกณฑ์การคัดเลือกและตัดสินรางวัล
1. เกณฑ์การพิจารณาตำแหน่ง Chula Safety Ambassador 2024 พิจารณาจากผู้ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรก คิดจากคะแนน 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คิดเป็น 45 คะแนน มาจากการพิจารณาบุคลิกภาพของผู้สมัครโดยคณะกรรมการและอดีต Chula Safety Ambassador จากวิดีโอแนะนำตัว ประกอบด้วย
- คะแนนบุคลิกภาพคิดเป็น 10 คะแนน
- คะแนนการแสดงทัศนคติด้านความปลอดภัย คิดเป็น 20 คะแนน
- คะแนนความสามารถพิเศษ พิธีกร ทำกิจกรรมคิดเป็น 10 คะแนน
- คะแนนการเป็นผู้นำความคิด (จำนวนผู้ติดตาม)คิดเป็น 5 คะแนน
ส่วนที่ 2 คิดเป็น 40 คะแนน มาจากคะแนนที่ได้รับจากการประเมินผลงานโดยคณะกรรมการ
- คะแนนความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหาคิดเป็น 20 คะแนน
- คะแนนความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์คิดเป็น 20 คะแนน
*กรณีส่งชิ้นงานทั้งภาพนิ่ง/คลิปวิดีโอ จะพิจารณาจาก ชิ้นงานที่ได้คะแนมสูงสุด
** กรณีมีผู้สมัครทีมเดียวกันมีความประสงค์ รับตำแหน่ง Chula Safety Ambassador 2024 ทุกคนในทีมเดียวกันจะได้คะแนนส่วนนี้เท่ากันทุกคน โดยพิจารณาจาก ชิ้นงานที่ได้คะแนนสูงสุด
ส่วนที่ 3 คิดเป็น 15 คะแนน มาจากคะแนนการโหวตผลงานสื่อประชาสัมพันธ์
- คิดคะแนนโดยแบ่งผลโหวตเป็น 8 อันตรภาคชั้นเท่า ๆ กัน เพื่อใช้เทียบเป็นคะแนน ตั้งแต่ 8 คะแนน ไปจนถึง 15 คะแนน ตามลำดับ โดยกำหนดให้
- ผู้ที่ได้ผลโหวตในอันตรภาคชั้นสูงสุดจะได้คะแนนคิดเป็น 15 คะแนน
- ผู้ที่ได้ผลโหวตในอันตรภาคชั้นต่ำสุดจะได้คะแนนคิดเป็น 8 คะแนน (อาจมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดคะแนนตามความเหมาะสม)
*กรณีส่งชิ้นงานทั้งภาพนิ่ง/คลิปวิดีโอ จะพิจารณาจาก ชิ้นงานที่ได้คะแนมสูงสุด
** กรณีมีผู้สมัครทีมเดียวกันมีความประสงค์ รับตำแหน่ง Chula Safety Ambassador 2024 ทุกคนในทีมเดียวกันจะได้คะแนนส่วนนี้เท่ากันทุกคน โดยพิจารณาจาก ชิ้นงานที่ได้คะแนนสูงสุด
หมายเหตุ : ผู้ที่จะได้รับตำแหน่งต้องมีคะแนนทั้ง 3 ส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 60
2. เกณฑ์การพิจารณารางวัลผลงานการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมพฤติกรรมด้านความปลอดภัยดีเด่น
รางวัล The Excellence และ Rising Star
พิจารณาชิ้นงานที่ได้คะแนนส่วนที่ 2 สูงสุดจะได้รับรางวัลดังนี้ (แยกตามประเภทสื่อที่ออกแบบ)
ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัล The Excellence
ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดอันดับที่ 2-4 จะได้รับรางวัล Rising Star
หมายเหตุ : ผลงานที่จะได้รับรางวัลต้องมีคะแนนรวมมากกว่าร้อยละ 60
รางวัล Popular Vote
พิจารณาชิ้นงานที่ได้คะแนนจากผลโหวต (คะแนนส่วนที่ 3) สูงสุดเป็นอันดับ 1 จะได้รับรางวัล Popular Vote (แยกตามประเภทสื่อที่ออกแบบ)
หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดคะแนนตามความเหมาะสม
หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณกร โทร 02-218-6179 หรือ 099-132-06622 หรือคุณทิพาวรรณ โทร 02-218-5227 อีเมล shecu@chula.ac.th
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 08 9152 2626 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |