ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่หน่วยงานตามมาตรา ๒๘ ต้องปฏิบัติและการจัดให้มีคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. 2560
835 views    
        
ด้าน :
ชีวภาพ
เรื่อง :
-
ลำดับกฎหมาย :
ประกาศกระทรวง
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
บังคับตามกฎหมาย
วันที่ประกาศ :
10 มีนาคม 2560
วันที่มีผลบังคับใช้ :
11 มีนาคม 2560
สาระสำคัญ

สาระสำคัญ

“หน่วยงาน” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษาของรัฐ สถานพยาบาลของรัฐ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์การเภสัชกรรม และสภากาชาดไทย

“การศึกษาวิจัย” หมายความว่า การศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ หรือการทดลองอย่างเป็นระบบโดยใช้เชื้อโรคและพิษจากสัตว์เป็นวัตถุแห่งการทดลอง เพื่อให้พบข้อเท็จจริง องค์ความรู้หรือหลักการที่จะนำไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี แนวทางปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ เฉพาะเพื่อการควบคุมโรค การป้องกันโรค และการบำบัดโรค


หน่วยงานที่มีการศึกษาวิจัย เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค การป้องกันโรค และการบำบัดโรค จะผลิตหรือครอบครองเชื้อโรค กลุ่มที่ 2 เชื้อโรค กลุ่มที่ 3 พิษจากสัตว์ กลุ่มที่ 1 หรือพิษจากสัตว์ กลุ่มที่ 2 ได้ ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีผู้ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามประกาศที่ออกตามมาตรา 6 (5)
2. จัดให้มีคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพตามความในหมวด 2 แห่งประกาศนี้
3. ปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยเพื่อการควบคุมโรค การป้องกันโรค และการบำบัดโรค ที่ออกตามมาตรา 6 (10)
4. ขอหนังสือรับรองการแจ้งหรือใบอนุญาตแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หนังสือรับรองการแจ้งหรือใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออก
5. หน่วยงานที่ผลิตและครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องจัดทำบัญชีรายชื่อเชื้อโรคและพิษจากสัตว์


คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่หน่วยงานจัดตั้งขึ้นจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิจัยเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ในระดับที่สามารถกำกับดูแลการใช้เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ในงานวิจัยให้มีความปลอดภัยต่อผู้วิจัย ประชาชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. กำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในการศึกษาวิจัยของหน่วยงาน
2.พิจารณาและกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการผลิตและการครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหรืออันตราย
3. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความปลอดภัยในการใช้เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในงานวิจัยของหน่วยงาน
4. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการกำกับดูแลการใช้เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในการศึกษาวิจัยของหน่วยงานให้มีความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย
5. อำนาจหน้าที่อื่นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยตามที่หน่วยงานมอบหมาย


ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้

กฎหมายฉบับเต็ม
 หลักเกณฑ์คณะกรรมการ 2560 (38 KB)