สาระสำคัญ
1. ผู้ดำเนินการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีต้องควบคุมให้เกิดการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีให้น้อยที่สุดทั้งในเชิงปริมาณและความเข้มข้น โดยวิธีการจัดเก็บเพื่อรอการสลายตัว การทำให้เจือจางหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม เพื่อเลี่ยงหรือลดผลกระทบทางรังสีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม
2. ผู้ดำเนินการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีต้องควบคุมการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้รับรังสีเกินกว่า 0.3 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี
3. การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีจากการใช้งานวัสดุกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึกแต่ละนิวไคลด์กัมมันตรังสี ต้องไม่เกินเกณฑ์การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีทางอากาศและทางน้ำ (ภาคผนวกท้ายกฏกระทรวง)
การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีจากการใช้งานวัสดุกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึกหลายนิวไคลด์กัมมันตรังสีทางอากาศหรือทางน้ำ หรือทั้งทางอากาศและทางน้า ผลรวมของอัตราส่วนการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีต่อเกณฑ์การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีต้องมีค่าไม่เกิน 1
4. ในกรณีที่การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีเกินกว่าเกณฑ์การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีทางอากาศและทางน้ำ หรือมีค่าเกิน 1 แล้วแต่กรณี ผู้ดำเนินการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีต้องได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการ และต้องแสดงการประเมินการได้รับรังสีเพื่อยืนยันว่าประชาชนและผู้เกี่ยวข้องไม่ได้รับรังสีเกินกว่าเกินกว่า 0.3 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี
5. การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีที่เป็นของเหลวออกสู่สิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งน้าปิดจะกระทำมิได้
6. ผู้ดำเนินการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีต้องจัดให้มีการเก็บข้อมูลการปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีไว้อย่างน้อยห้าปี
7. การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีที่เกินกว่าหนึ่งในสามส่วนของเกณฑ์การปล่อยทิ้งกากกัมมันตรังสีทางอากาศและทางน้าท้ายกฎกระทรวงนี้ ต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังที่เหมาะสมและเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังนั้นไว้อย่างน้อย 5 ปี
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |