ประเด็น: การป้องกันและระงับอัคคีภัย
สาระสำคัญ
- ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายบอกทางหนีไฟที่มีลักษณะ ตัวอักษรต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าสิบเซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- การป้องกันอันตรายจากถ่านหินที่กองเก็บในที่โล่งแจ้ง ให้นายจ้างปฏิบัติ ดังนี้
(1) ต้องพรมน้ำเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน
(2) ต้องอัดทับให้มีโพรงอากาศในกองถ่านหินน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการลุกไหม้ที่เกิดได้เอง
(3) ในบริเวณที่มีฝุ่นถ่านหินฟุ้งกระจายและมีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดฝุ่นต้องจ้ดให้มีมาตรการป้องกันและลดความรุนแรงของผลกระทบจากการระเบิดฝุ่น
(4) การกองถ่านหินสูงเกิน 3 เมตร ต้องติดตามตรวจวัดอุณหภูมิของกองถ่านหินอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และจัดเก็บรายงานผลการบันทึกไว้ที่สถานประกอบกิจการอย่างน้อย 1 ปี
(5) ในกรณีที่มีการตรวจวัดอุณหภูมิของกองถ่านหินตาม (ข้อ 4) หากกองถ่านหินมีอุณหภูมิตั้งแต่ 65 องศาเซลเซียสขึ้นไป ต้องคัดแยกถ่านหินออกจากกองหรือใช้มาตรการอื่นเพื่อป้องกันการลุกไหม้ที่เกิดได้เอง
- การป้องกันอันตรายจากการเก็บถ่านหิน ผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย เซลูลอยด์หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่ายที่เก็บในไซโล ถัง หรือภาชนะ ให้นายจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) การเก็บถ่านหินหรือผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย ไซโล ถัง หรือภาชนะที่เก็บนั้น ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟที่มีฝาปิดมิดชิด และเก็บไว้ให้ห่างไกลจากแหล่งความร้อน
(2) การเก็บเซลลูลอยด์ หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่าย ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันการลุกไหม้จากแหล่งความร้อนหรือการผสมกับอากาศที่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ได้
ในการเก็บถ่านหิน ผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ เซลลูลอยด์ หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่ายตามข้อ (1) และ (2) หากมีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดฝุ่น ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันและลดความรุนแรงของผลกระทบจากการเกิดระเบิดฝุ่นด้วย
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |