กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547
3,284 views    
        
ด้าน :
รังสี
เรื่อง :
-
ลำดับกฎหมาย :
กฎกระทรวง
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
มีไว้อ้างอิง
วันที่ประกาศ :
20 สิงหาคม 2547
วันที่มีผลบังคับใช้ :
18 สิงหาคม 2548

สาระสำคัญ

- ให้แจ้งจำนวนและปริมาณความแรงรังสีของต้นกำเนิดรังสีดังกล่าวต่อ สลจ. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง

- กำหนดพื้นที่ควบคุมโดยจัดทำรั้ว คอกกั้น หรือเส้นแสดงแนวเขตและจัดให้มีป้ายข้อความ "ระวังอันตรายจากรังสี ห้ามเข้า" อย่างน้อยเป็นภาษาไทย ด้วยอักษรสีดำบนพื้นสีเหลืองแสดงไว้ให้เห็นโดยชัดเจน

- จัดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยลดปริมาณรังสีต้นกำเนิดรังสีหรือที่ทางผ่านของรังสี และกำหนดวิธีและเวลาการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุมได้รับปริมาณรังสีสะสมเกินเกณฑ์กำหนด 
(1) 20 มิลลิซึเวอร์ต (mill sievert) ต่อปี โดยเฉลี่ย ในช่วง 5 ปีติดต่อกัน สำหรับศีรษะ ลำตัว อวัยวะที่เกี่ยวกับการสร้างโลหิตและระบบสืบพันธุ๋ 
     ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะรับปริมาณรังสีสะสมได้ไม่เกิน 50 มิลลิซีเวอร์ต (milli sievert) 
(2) 150 มิลลิซีเวอร์ต (milli sievert) ต่อปี สำหรับเลนส์ของดวงตา 
(3) 500 มิลลิซีเวอร์ต (milli sievert) ต่อปี สำหรับผิวหนัง หรือมือและเท้า

- จัดให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีใช้อุปกรณ์บันทึก ปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน

- จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำทุกเดือนตามแบบที่กำหนด โดยต้องแจ้งปริมาณรังสีสะสมดังกล่าวให้ลูกจ้างทราบทุกครั้งและเก็บหลักฐานไว้ ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างพร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทำการ

- จัดให้มีลูกจ้างอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีประจำสถานประกอบกิจการ และแจ้งชื่อ คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี ตามแบบที่กำหนดภายใน 7 วัน

- ผู้รับผิดชอบดำเนินการทางรังสีในเรื่องรังสี ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 
(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทางด้านวิทยาศาสตร์โดยได้ศึกษาและสอบผ่านวิชาเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างน้อย 3 หน่วยกิต
 (2) เป็นผู้ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการป้องกันอันตรายทางรังสีจากสำนักงานปริมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสถาบันอื่นที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานรับรอง

- จัดให้มีที่ล้างมือ ที่ล้างหน้าและที่อาบน้ำ เพื่อให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีใช้หลังจากปฏิบัติงานหรือก่อนออกจากที่ทำงาน และต้องให้ลูกจ้างถอดชุดทำงานและเก็บไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม

- จัดให้มีแผนป้องกันและระงับอันตรายจากรังสีในภาวะการทำงานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรง และส่งแผนดังกล่าวต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อให้ความเห็นชอบเพื่อให้ความเห็นชอบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งต้นกำเนิดรังสี

- จัดให้มีการฝึกซ้อมตามแผนป้องกันและระงับอันตรายจากรังสีในภาวะการทำงานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

- จัดให้มีเครื่องเตือนภัยติดไว้ให้เห็นโดยชัดเจนในบริเวณรังสีบริเวณรังสีสูง บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีตามแบบที่อธิบดีกำหนด

- ติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบสีแดงเพื่อเตือนภัยในบริเวณรังสีสูง

- จัดให้มีระบบสัญญาณฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีขึ้นเพื่อให้ลูกจ้างออกไปยังสถานที่ปลอดภัย

- ในกรณีที่ต้นกำเนิดรังสี อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้รังสีเกิดความเสียหาย ชำรุด แตกร้าวหรือสูญหาย ให้นายจ้างแจ้งเหตุดังกล่าวโดยทันทีต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

- ให้นายจ้างรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีอต่อธิบดีหรือผู้ซี่งอธิบดีมอบหมาย ตามกำหนดเวลา ดังนี้ 
(1) การปฏิบัติงานระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน ให้รายงานภายในเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน 
(2) การปฏิบัติงานระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม ให้รายงานภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป

- ให้นายจ้างปฏิบัติดังต่อไปนี้ 
(1)  จัดทำคู่มือหรือเอกสารเกี่ยวกับประโยชน์ วิธีการใช้ และวิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองของความปลอดภัยส่วนบุคคล พร้อมทั้งแจกจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึกทุกคน คู่มือและเอกสารนี้อย่างน้อยต้องมีข้อความภาษาไทย 
(2) สาธิตเกี่ยวกับวิธีการใช้และวิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 
(3) กำหนดมาตรการหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งแจ้งลูกจ้างทราบ


ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้


กฎหมายฉบับเต็ม
 กฎกระทรวง รังสีชนิดก่อไอออน 2547.pdf (67 KB)