สาระสำคัญ
- จัดสถานที่เก็บต้นกำเนิดรังสีแยกได้จากบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและการโจรกรรม
- จัดทำเครื่องหมายเตือนภัยแบบ ร. 4 ติดไว้ในบริเวณที่เก็บรักษา เคลื่อนย้าย ขนส่งต้นกำเนิดรังสีและในบริเวณที่มีการจัดการกากกัมมันตรังสีโดยเปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน
- ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ได้รับมอบหมายให้ทำการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งต้นกำเนิดรังสีทราบถึงวิธีการและขั้นตอนการเคลื่อนย้าย การขนส่งต้นกำเนิดรังสี รวมทั้งอันตรายและการป้องกันอันตรายจากรังสีที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง
- จัดทำแผนป้องกันและระงับอันตรายจากเหตุฉุกเฉินทางรังสีขณะทำการเคลื่อนย้าย หรือขนส่งต้นกำเนิดรังสี โดยให้นำแผนดังกล่าวติดไว้กับต้นกำเนิดรังสีที่ทำการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งโดยเปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน
- แยกประเภทกากกัมมันตรังสีซึ่งเป็นวัสดุหรือของเสียในรูปของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซที่เป็นสารกัมมันตรังสี หรือปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี และให้บรรจุไว้ในภาชนะสำหรับเก็บกากกัมมันตรังสีโดยเฉพาะ
"- จ้ดทำฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยตามแบบ ร. 6 และให้มีข้อความที่แสดงปริมาณของกากกัมมันตรังสี ชนิดชองรังสี และปริมาณความแรงรังสีติดไว้บนภาชนะที่บรรจุกากกัมมันตรังสี
ในกรณีที่กากกัมมันตรังสีเป็นต้นกำเนิดรังสี ให้นายจ้างติดฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยตามแบบ ร. 6และให้มีข้อความที่แสดงชนิดและและอัตราปริมาณรังสีสูงสุดติดไว้บนภาชนะที่บรรจุกากกัมมันตรังสี"
- การเก็บรักษา เคลื่อนย้าย ขนส่งต้นกำเนิดรังสี และการจัดการกากกัมมันตรังสีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้นายจ้างปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนด
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |