สาระสำคัญ
- ให้นายจ้างจัดให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี เป็นผู้อบรมลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี
- เนื้อหาวิชาสำหรับการอบรม ต้องประกอบด้วยอย่างน้อยหัวข้อต่อไปนี้
(1) ความหมาย ชนิด และประเภทของรังสี
(2) กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน
(3) การป้องกันอันตรายจากรังสี
(4) การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในพื้นที่ควบคุมทางรังสี
(5) วิธีการปฏิบัติงานในบริเวณรังสีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
(6) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉิน และวิธีการหลีกหนีภัย
(7) กฎและข้อปฏิบัติในการทำงานเกี่ยวกับรังสี
(8) ป้าย เครื่องหมายเตือนภัน ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับรังสี
(9) การใช้อุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล
(10) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
- ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรมภาคทฤษฎี โดยวิธีการบรรยายน การสาธิต และการฝึกปฏิบัติ โดยมีระยะเวลาการอบรมรวมกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
- ให้นายจ้างจัดทำทะเบียนรายชื่อลูกจ้างที่ผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรม พร้อมลายมือชื่อของผู้วิทยากรผู้ทำการอบรมเก็บไว้ในสถานปรกอบกิจการ หรือ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน พร้อมที่จะให้พลังงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ในเวลาทำการ
- จัดให้มีการทบทวนความรู้แก่ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหรือปริมาณความแรงรังสีของต้นกำเนิดรังสี
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |