สาระสำคัญ
- หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามประกาศนี้
- ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสุตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคเนิคขั้นสูง ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเที่ยบเท่า
2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาขีพ หรือเทียบเท่า และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ควาปลดรภัยในการทำงานระดับเทคนิคมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานตามกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานลูกจ้าง
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับผู้บริหารหรือนายจ้าง
- ในการส่งลูกจ้างเข้าฝึกอบรมหลักสุตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ ให้นายจ้างยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้เข้ารับการอบรม
2. สำเนาเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาของผู้เข้ารับการอบรม
3. หนังสือรับรองการเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานหรือระดับบริหาร สำรหับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหาร แล้วแต่กรณี
4. หนังสือรับรองการเป็น หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือระดับเทคนิคชั้นสูง แล้วแต่กรณี
- หากนายจ้างเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ให้นายจ้างยื่นเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาพร้อมเอกสารแสดงความเป็นนายจ้าง เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
- หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค มีระยะเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
- หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูง มีระยะเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง
- หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร มีระยะเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค หรือระดับบริหารต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร และได้รับการประมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูงต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของระยะเวลาการฝึกอบรมในแต่ละหมวดวิชาของหลักสูตร (ทั้งหมด 6 หมวด) และได้รับการประเมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งต้องผ่านการทดสอบจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง
- ให้เป็นหน่วยงานทดสอบ ซึ่งประกอบด้วยข้อสอบปรนัยและข้อสอบอัตนัยแยกแต่ละหมวดวิชา การทดสอบให้ถือเกณฑ์ผ่านด้วยคะแนนไม่ต่ำร้อยละ 60 ของแต่ละหมวดวิชา หากผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่ผ่านการทดสอบในหมวดวิชาใด ให้ผุ้นั้นเข้าทดสอบในหมวดวิชาที่ไม่ผ่านได้อีก 1 ครั้ง หากยังไม่ผ่านให้เข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบเฉพาะในหมวดวิชานั้นไหม่
- หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสุตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค หรือระดับบริหาร
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรองให้เป็นหน่วยงานทดสอบเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสุตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
- หน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่
1. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอนวิชาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า
2. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอนวิชาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า (เฉพาะการฝึกอบรมจป.ระดับหัวหน้างาน เทคนิค หรือบริหาร)
3. หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
4. รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
5. นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
6. นายจ้างซึ่งมีจป.วิชาชีพประจำสถานประกอบกิจการ (เฉพาะการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จป.หัวหน้างาน หรือบริหารให้แก่ลูกจ้างของนายจ้างนั้น)"
- หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สามารถดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานได้คราวละ 3 ปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
- หน่วยงานฝึกอบรมจป.ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกอบรม จป. ที่อธิบดีกำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจดังต่อไปนี้
1. มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
2. สั่งให้หยุดการดำเนินการฝึกอบรมจป. เป็นการชั่วคราว
3. เพิกถอนการขึ้นทะเบียน
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |