สาระสำคัญ
- การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มี 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน
(2) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค
(3) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูง
(4) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ
(5) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร
- หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ต้องดำเนินการฝึกอบรมตามที่หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแต่ละระดับกำหนดไว้ ในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ หน่วยงานฝึกอบรมต้องจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในสถานที่จริง และได้รับการฝึกอบรม โดยใช้อุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง
- การฝึกอบรมภาคทฤษฎี หน่วยงานฝึกอบรมต้องจัดให้ห้องฝึกอบรม 1 ห้อง มีผู้เข้ารับการอบรมไม่เกิน 60 คน และวิทยากรอย่างน้อย 1 คน ส่วนการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ หน่วยงานฝึกอบรมต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 ท่าน ต่อผู้เข้ารับการอบรมไม่เกิน 20 คน
- ให้หน่วยงานฝึกอบรมแจ้งกำหนดการฝึกอบรมแต่ละครั้งต่ออธิบดี ก่อนวันฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 7 วัน
- ให้หน่วยงานฝึกอบรมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และเอกสารประเมินผลการฝึกอบรมของผู้ผ่านการฝึกอบรมแต่ละราย โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม
- ให้หน่วยงานฝึกอบรมส่งหลักฐานการฝึกอบรมเพิ่มเติม หรือการพัฒนาความรู้ของวิทยากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนมกราคม นับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |