สาระสำคัญ
- ให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างระดับปฏิบัติการซึ่งไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้างจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน เป็นคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง
- ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทุกคนที่ได้รับแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งทราบ และปิดประกาศรายชื่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบทั่วกัน ทั้งนี้ ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้ง
- ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งดำเนินการประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่รับสมัครและจำนวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่จะได้รับการเลือกตั้ง ภายในห้าวัน ทั้งนี้ ต้องกำหนดวัน และเวลาให้ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนลูกจ้างยื่นใบสมัครได้ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ไม่เกิน 5 วัน นับจากวันประกาศรับสมัคร
- ลูกจ้างระดับปฏิบัติการในสถานประกอบกิจการทุกคนมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้างลูกจ้างระดับปฏิบัติการในสถานประกอบกิจการทุกคน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
- การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ
- เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเลือกตั้งแล้วให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งนับคะแนนเสียงทั้งหมดโดยเปิดเผยทันที
- ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งแจ้งผลการเลือกตั้งให้นายจ้างทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการเลือกตั้ง
- ให้นายจ้างอำนวยความสะดวก จัดหาอุปกรณ์สำหรับลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกตั้งตามประกาศนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |