สาระสำคัญ
งานก่อสร้าง หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างทุกชนิด เช่น อาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ถนน อุโมงค์ ท่าเรือ อู่เรือ คานเรือ สะพานเทียบเรือ สะพาน ทางน้ำ ท่อระบายน้ำ ประปา รั้ว กำแพง ประตู ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายพื้นที่ หรือสิ่งก่อสร้างเพื่อจอดรถ กลับรถ และทางเข้าออกของรถ และหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ดัดแปลง เคลื่อนย้าย หรือการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้างนั้นด้วย
- นายจ้างจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างที่กำหนด ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
- นายจ้างต้องจัดให้พื้นที่ทำงานก่อสร้างมีความปลอดภัย ติดป้ายอันตรายทางเข้าออกของยานพาหนะ จัดให้มีแสงสว่างฉุกเฉินในเขตพื้นที่ก่อสร้าง ติดป้ายเตือนและป้ายบังคับ ให้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
- นายจ้างจัดให้มีผู้ควบคุมงานทำหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำงานก่อนการทำงาน และขณะทำงานทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- กรณีที่ต้องทำงานก่อสร้างบนที่สูงตั้งแต่ 1.50 เมตรขึ้นไป ต้องจัดให้มีบันไดหรือทางลาดพร้อมติดตั้งราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- ในเขตก่อสร้าง ต้องจัดให้งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความปลอดภัย ทั้งในงานไฟฟ้าและการป้องกันอัคคีภัย งานเจาะและงานขุด งานก่อสร้างที่มีเสาเข็มและกำแพงพืด ค้ำยัน เครื่องจักรและปั้นจั่น ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราวและลิฟต์โดยสารชั่วคราว เชือก/ลวดสลิง/รอก ทางเดินชั่วคราวยกระดับสูง การทำงานในที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง การพังทลาย และการกระเด็นหรือตกหล่นของวัสดุ งานอุโมงค์ งานก่อสร้างในน้ำ การรื้อถอนทำลาย ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
- นายจ้างต้องจัดให้และดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาที่ทำงาน และต้องจัดให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน และเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดและได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน โดยให้มีการตรวจสอบและอบรมการใช้อุปกรณ์นั้นก่อนการใช้งาน
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |