กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. 2563
3,404 views    
        
ด้าน :
อาชีวอนามัย
เรื่อง :
งานเสี่ยงสูง, ค่า/เกณฑ์มาตรฐาน, การบริหารจัดการ
ลำดับกฎหมาย :
กฎกระทรวง
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
มีไว้อ้างอิง
วันที่ประกาศ :
16 มิถุนายน 2563
วันที่มีผลบังคับใช้ :
16 มิถุนายน 2563

สาระสำคัญ

- งานประดาน้ำ หมายความว่า งานที่ทำใต้น้ำโดยการดำน้ำ

- บุคคลที่เกี่ยวข้องตามกฎกระทรวงนี้ ได้แก่ นักประดาน้ำ หัวหน้านักประดาน้ำ พี่เลี้ยงนักประดาน้ำ นักประดาน้ำพร้อมดำ และผู้ควบคุมระบบการจ่ายอากาศและการติดต่อสื่อสาร

- ใช้บังคับสำหรับงานประดาน้ำที่ทำในน้ำลึก ตั้งแต่ 10 ฟุต แต่ไม่เกิน 300 ฟุต

- นายแจ้งจะให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ ณ สถานที่ใด หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานประดาน้ำ ต้องแจ้งสถานที่นั้นให้พนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าก่อนทำงานไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยแจ้งผ่านไปรษณีย์ โทรศํพท์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นก็ได้

- นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ ได้รับการตรวจสุขภาพตามกำหนดระยะเวลาและจัดทำบัตรตรวจสุขภาพลูกจ้างไว้

- ลูกจ้างที่นายจ้างจะให้ทำงานประดาน้ำต้อง
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
(2) มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง และไม่เป็นโรคตามที่อธิบดีประกาศกำหนดไว้
(3) มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในงานประดาน้ำโดยต้องผ่านการทดสอบตามหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล หรือหน่วยงานรัฐรับรอง หรือหลักสุตรที่อธิบดีประกาศกำหนดไว้

- นายจ้างต้องจัดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องและให้ปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
หัวหน้านักประดาน้ำ มีหน้าที่ ดังนี้
(1) วางแผนการทำงานและควบคุมการดำน้ำ ตลอดจนการติดต่อสื่อสารระหว่างลูกจ้างผู้ทำงานใต้น้ำกับลูกจ้างทำงานบนผิวน้ำ
(2) วางแผนการป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นจากงานประดาน้ำ
(3) ชี้แจงและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของนักประดาน้ำ ลูกจ้างผู้ทำงานแต่ละคนตามแผนการทำงานแต่ละครั้ง ตลอดจนวิธีการทำงานประดาน้ำ การป้องกันอันตรายอาจจะเกิดขึ้นจากงานประดาน้ำ และดูแลให้นักประดาน้ำทุกคนตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำที่จะใช้ในการทำงานให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานประดาน้ำ
(4) ตรวจสอบความพร้อมของนักประดาน้ำ เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำก่อนการทำงานประดาน้ำ ประมาณอากาศในขวดอากาศดำน้ำก่อนและหลังการทำงานประดาน้ำ
(5) ควบคุมเวลาในการทำงานประดาน้ำ ตั้งแต่เวลาเริ่มดำน้ำ เวลาในการทำงานใต้น้ำ เวลาที่กลับขึ้นสู่ผิวน้ำ เวลาที่ต้องพักในระดับความลึกต่าง ๆ และเวลาพักเพื่อปรับสภาพร่างกายก่อนลงไปทำงานใต้น้ำครั้งต่อไป รวมทั้งระยะเวลาการดำน้ำครั้งต่อไป
(6) อยู่สั่งการและควบคุมตลอดเวลาที่มีการทำงานประดาน้ำ"

พี่เลี้ยงนักประดาน้ำ มีหน้าที่ ดังนี้
(1) ศึกษาและทำความเข้าใจแผนการทำงานที่ได้รับมอหมายโดยตลอด
(2) ซักซ้อมและทำความเข้าใจแผนการทำงาน แผนการติดต่อสื่อสาร และแผนการป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นกับนักประดาน้ำ
(3) ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำ และช่วยแต่งชุดดำน้ำให้นักประดาน้ำและนักประดาน้ำพร้อมดำ
(4) บันทึกปริมาณอากาศที่อยู่ในขวดอากาศดำน้ำก่อนและหลังดำน้ำ และรายงานการบันทึกเวลาการทำงานใต้น้ำของนักประดาน้ำให้หัวหน้านักประดาน้ำทราบทุกขั้นตอน
(5) ช่วยเหลือนักประดาน้ำในการทำงานประดาน้ำ"

นักประดาน้ำ มีหน้าที่ ดังนี้
(1) ศึกษาและทำความเข้าใจแผนการทำงานที่ได้รับมอบหมายโดยตลอด
(2) ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ทำงานประดาน้ำ
(3) ปฏิบัติตามแผนการทำงาน กฎเกณฑ์การดำน้ำ และมาตรการความปลอดภัยในการดำน้ำโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนการดำน้ำโดยจะต้องพักระดับความลึกต่าง ๆ ตามเวลาที่กำหนดไว้"

นักประดาน้ำพร้อมดำ มีหน้าทีดังนี้
(1) เตรียมความพร้อมดำน้ำเพื่อช่วยเหลือนักประดาน้ำตามคำสั่งของหัวหน้านักประดาน้ำ
(2) ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมที่ใช้ทำงานประดาน้ำ"

ผู้ควบคุมระบบการจ่ายอากาศและการติดต่อสื่อสาร มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและควบคุมการจ่ายอากาศให้นักประดาน้ำตามวามลึก
(2) ควบคุมระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างหัวหน้านักประดาน้ำกับนักประดาน้ำ"

- นายจ้างต้องควบคุมให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำปฏิบัติตามตารางมาตรฐานการดำน้ำและการลดความกดดัน ตลอดจนการพักเพื่อปรับสภาพร่างกายก่อนลงไปทำงานใต้น้ำในครั้งต่อไป

- นายจ้างต้องจัดให้มีลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ เจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ใต้น้ำ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์เวชศาสตร์ทางทะเล และอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำ

- นายจ้างต้องจัดให้มีบริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และออกซิเจน 100 เปอร์เซ็นต์พร้อมหน้ากากช่วยหายใจ เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งทำงานประดาน้ำตลอดระยะเวลาที่มีการดำน้ำ

- ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ สามารถปฏิเสธการดำน้ำได้ หากเห็นว่าการดำน้ำในเวลานั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพอนามัยของตน

- นายจ้างและหัวหน้านักประดาน้ำ ต้องสั่งให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำหยุดหรือเลิกการดำน้ำ ในกรณีที่
1. เมื่อพี่เลี้ยงนักประดาน้ำและนักประดาน้ำไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้
2. เมื่อนักประดาน้ำต้องใช้อากาศสำรองจากขวดอากาศหรือขวดอากาศสำรอง
3. เมื่อการดำน้ำในพื้นที่บริเวณนั้นไม่ปลอดภัย

- นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำ ได้แก่ เครื่องประดาน้ำประเภทขวดอากาศ (SCUBA) เครื่องประดาน้ำประเภทใช้อากาศจากผิวน้ำ (Surface supply) ทั้งนี้ต้องได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนดรายละเอียดอุปกรณ์ประกอบของแต่ละเครื่อง แสดงดังกฎกระทรวงนี้

- นายจ้างต้องบำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับงาประดาน้ำตามที่กำหนด


ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้

กฎหมายฉบับเต็ม
 กฎกระทรวง งานประดาน้ำ 2563.PDF (114 KB)