ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544
1,341 views    
        
ด้าน :
อาคาร
เรื่อง :
งานเสี่ยงสูง
ลำดับกฎหมาย :
ข้อบัญญัติ
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
บังคับตามกฎหมาย
วันที่ประกาศ :
3 สิงหาคม 2544
วันที่มีผลบังคับใช้ :
4 สิงหาคม 2544

สาระสำคัญ

- ให้ยกเลิก ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522

คำนิยามเฉพาะ (บางส่วน)
- ก่อสร้าง หมายความว่า สร้างอาคาารขึ้นใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขึ้นแทนของเดิมหรือไม่
- วามสูงของอาคาร หมายความว่า ส่วนสูงของอาคารวัดตามแนวดิ่งจากระดับถนนขึ้นไป ถึง ส่วนของอาคารที่สูงที่สุด
- พื้นที่อาคาร หมายความว่า พื้นที่ของพื้นของอาคารทุกชั้นที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยภายในขอบเขตด้านนอกของคาน หรือภายในพื้นนั้น หรือภายในขอบเขตด้านนอกของผนังของอาคาร และหมายความรวมถึงเฉลี่ยง หรือระเบียงด้วย
- ลิฟต์ด้บเพลิง หมายความว่า ลิฟต์ที่พนักงานดับเพลิงสามารถควบคุมการใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้
- อาคารเก็บของ หมายความว่า อาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับเก็บสินค้าหรือสิ่งของ เพื่อประโยชน์ของเจ้าของอาคาร ซึ่งมีปริมาตรที่ใช้เก็บของไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้  การวัดความสูงเพื่อคำนวณปริมาตร ให้วัดจากพื้นชั้นนั้นถึงยอดผนังสูงสุด
- อาคารขนาดใหญ่ หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัย หรือระกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป และมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังคาเดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่ว หรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
- อาคารขนาดใหญ่พิเศษ หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
- อาคารสูง หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจะเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่ว หรือปั้นหยา ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด

บันไดและบันไดหนีไฟ
- บันไดของอาคารอยู่อาศัยถ้ามีต้องมีอย่างน้อย 1 บันไดที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันไดมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
- บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพักบันไดต้องมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากขั้นบันได หรือชานพักบันไดถึส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90  เมตร
- บันไดหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและถาวร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร ชานพักกว้างไม่น้อยกว่าของบันได มีราวบันไดสูง 90 เซนติเมตร ห้ามสร้างบันไดนีไฟเป็นแบบบันไดเวียน 
พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
- หากใช้ทางลาดหนีไฟแทนบันไดหนีไฟ ความลาดชันของทางหนีไฟต้องมีความลาดชันไม่เกินกว่าร้อยละ 12
- อาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟและถาวรกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและข่องประตูหนีไฟ และแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกอาคารได้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร โดยต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน
- อาคารขนาดใหญ่พิเศษ บันไดหนีไฟภายในอาคารที่ไม่สามรถเปิดช่องระบายอากาศได้ ต้องมีระบบอัดลมภายในช่องบันไดหนีไฟที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 38.6 ปาสกาลมาตร ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และบันไดหนีไฟที่ลงหรือขึ้นสู่พื้นของอาคารนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถออกสู่ภายนอกได้โดยสะดวก
- ตำแหน่งที่ตั้งบันไดหนีไฟ ต้องมีระยะห่างระหว่างประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตันไม่เกิน 10 เมตร
- ระยะห่างระหว่างบันไดหนีไฟตามทางเดินต้องไม่เกิน 60 เมตร
- ถ้าบันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงหรือดาดฟ้าสู่พื้นดิน
- ถ้าบันไดหนีไฟภายนอกอาคาร ต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงถึงพื้นชั้นสอง
- ประตูของบันไดหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และต้องมีบานเปิดชนิดผลักเข้าสู่บันไดเท่านั้น ช้ั้นดาดฟ้า ชั้นล่างและชั้นที่ออกเพื่อหนีไฟสู่ภายนอกอาคารให้เปิดออกจากห้องบันไดหนีไฟพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มี ขั้น หรือธรณีประตู หรือขอบกั้น
- ต้องมีป้ายเรืองแสง หรือ เครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉินบอกทางออกสู่บันได้หนีไฟ ติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินบริเวณทางออกสู่บันไดหนีไฟ และทางออกจากบันไดหนีไฟ สู่ภายนอกอาคาร หรือชั้นที่มีทางหนีไฟให้ปลอดภัยต่อเนื่อง โดยป้ายดังกล่าวต้องมีข้อความทางหนีไฟ เป้นอักษรมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างและแสดงว่าเป็นทางหนีไฟให้ชัดเจน

ระบบการจัดแสงสว่าง การระบายอากาศ 
แสงสว่าง - บริเวณที่ทำงานของอาคารสำนักงาน ต้องไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์
ระบบระบายอากาศในอาคาร - จัดให้มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ หรือวิธีกลก็ได้
- การระบายอากาศโดยวิธีกล ต้องจัดให้มีกลอุปกรณ์ ขับเคลื่อนอากาศ ซึ่งต้องทำงานตลอดเวลาระหว่างที่ใช้สอยห้องนั้นเพื่อให้เกิดการระบายอากาศ
                                          อัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของปริมาตรของห้องใน 1 ชั่วโมง
                                          - ห้องสำนักงาน กำหนดอัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่า  7 เท่าของปริมาตรห้องใน1ชั่วโมง
                                          - ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ดับเพลิง กำหนดอัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่า 30 เท่าของปริมาตรห้องใน 1 ชั่วโมง
- การระบายอากาศด้วยระบบปรับอากาศ ต้องมีการนำอากาศภายนอกเข้ามาในพื้นที่ปรับภาวะอากาศ หรือดูดอากาศจากภายในพื้นปรับภาวะอากาศ ดังนี้
                                          - สำนักงาน        กำหนดไว้ที่ 2 ลบ.ม./ชม./ตร.ม.
                                          - ห้องปฏิบัติการ กำหนดไว้ที่ 2  ลบ.ม./ชม./ตร.ม.
                                          - สนามกีฬาในร่ม กำหนดไว้ที่ 4 ลบ.ม./ชม./ตร.ม.
                                          - ห้องเรียน          กำหนดไว้ที่ 4 ลบ.ม./ชม./ตร.ม.
                                          - ห้องประชุม       กำหนดไว้ที่ 6 ลบ.ม./ชม./ตร.ม.

- อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีโถงภายในอาคารเป็นช่อง เปิดทะลุพื้นของอาคารตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปและไม่มีผนังปิดล้อม ต้องจัดให้มีระบบควบคุมการการแพร่กระจายของควันและระบบระบายควันและระบบระบายควันที่สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้

การป้องกันอัคคีภัย
-อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีระบบจ่ายพลังไฟฟ้าเพื่อการแสงสว่างหรือกำลัง ซึ่งต้องมีการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง
- อาคารของ สถานศึกษา สำนักงาน หอสมุด สถานกีฬาในร่ม ฯลฯ (บางส่วนจากข้อบัญญัติ) ต้องมีวิธีการเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย
- อาคารต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างใดอย่างหนึ่งตามชนิดและขนาดที่กำหนดไว้ตารางในข้อบัญญัติ สำหรับดับเพลิงที่เกิดจากประเภทของวัสดุที่มีในแต่ละชั้นไว้ 1 เครื่อง ต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง โดยการติดตั้งเครื่องดับเพลิง ต้องติดตั้งให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.5 เมตร อยู่ในที่มองเห็นสามารถอ่านคำแนะนำการใช้ได้ สามารถนำไปใช้งานได้โดยสะดวก อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา
- อาคารขนาดใหญ่ ต้องจัดให้มีระบบ ท่อยืน สายฉีดน้ำ พร้อมทั้งอุปกรณ์หัวรับน้ำดับเพลิงชนิดข้อต่อสวมเร็วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร (2 1/2 น้ิว) เพื่อดับเพลิงได้ทุกส่วนของอาคาร
- อาคารขนาดใหญ่ต้องจัดให้มีวัสดุทนไฟปิดกั้นช่องท่อต่าง ๆ ระหว่างชั้นทุกชั้นของอาคาร
- อาคารที่สูงตั้งแต่ 6 ชั้นชึ้นไป และมีพื้นที่อาคารเกิน 2,000 ตารางเมตร หรือ อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีผนังหรือประตูปิดกั้นมิให้เปลวไฟหรือควันเข้าไปในบริเวณบันไดหลักของอาคารที่ต่อเนื่องตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป โดยผนังและประตูดังกล่าวสามารถทนไฟได้ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง


ศึกษาข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้



กฎหมายฉบับเต็ม
 ข้อบัญญัติ กทม ควบคุมอาคาร 2544.PDF (2 MB)