กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ.2564
8,566 views    
        
ด้าน :
อาชีวอนามัย
เรื่อง :
งานเสี่ยงสูง, ค่า/เกณฑ์มาตรฐาน, การบริหารจัดการ
ลำดับกฎหมาย :
กฎกระทรวง
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
ไม่ต่ำกว่ากฎหมาย
วันที่ประกาศ :
1 มีนาคม 2564
วันที่มีผลบังคับใช้ :
30 พฤษภาคม 2564


สาระสำคัญ

คำจำกัดความ

นั่งร้าน หมายความว่า โครงสร้างชั่วคราวที่สูงจากพื้นหรือพื้นของอาคาร หรือส่วนของสิ่งก่อสร้าง สำหรับเป็นที่รองรับผูัทำงาน วัสดุ หรืออุปกรณ์

ค้ำยัน หมายความว่า โครงชั่วคราวที่รองรับ ยึดโยง หรือเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างสิ่งก่อสร้าง นั่งร้าน แบบหล่อคอนกรีต หรือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระหว่างการก่อสร้างการติดตั้ง หรือการซ่อมบำรุง

ค่าความปลอดภัย หมายความว่า อ้ตราส่วนของหน่วยแรง หรือ น้ำหนักบรรทุกที่ทำให้เกิดการวิบัติต่อหน่วยแรง หรือ น้ำหนักบรรทุกที่ใช้งานจริง

วิศวกร หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร

- นายจ้างต้องจัดให้มีและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานกับนั่งร้านหรือค้ำยัน และลักษณะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน

- นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้านหรือค้ำยัน รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องเก็บสำเนาเอกสารไว้ให้กับพนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

- นายจ้างต้องกำหนดเขตอันตรายในบริเวณพื้นที่ที่มีการติดตั้ง การใช้ การเคลื่อนย้ายและรื้อถอนนั่งร้านหรือค้ำยัน โดยจัดทำรั้วหรือกั้นเขตด้วยวัสดุที่เหมาะสมกับอันตรายนั้น และมีป้าย "เขตอันตราย" แสดงให้เห็นได้ชัดเจน และในเวลากลางคืนต้องจัดให้มีสัญญาณไฟสีส้มตลอดเวลา และห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในเขตอันตรายนั้น

- นายจ้างต้องติด หรือ ตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายป้ายบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมกับลักษณะงาน  เช่น ห้ามเข้า เขตอันตราย ระวังวัสดุตกหล่น ให้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หรือข้อความอื่น ๆ ที่เข้าใจง่ายและเห็นได้อย่างชัดเจน

นั่งร้าน

- ในการสร้าง ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ตรวจสอบ ใช้ เคลื่อนย้าย และรื้อถอน นั่งร้าน นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณสมบัติและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีดังกล่าวนายจ้างต้องดำเนินการให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณสมบัติและคู่มือการใช้งานเป็นหน้งสือ และต้องมีสำเนาเอกสารเก็บไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

- นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

- นายจ้างต้องไม่ให้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้านที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

   (1) นั่งร้านที่มีพื้นลิ่น
   (2) นั่งร้านที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดชำรุด หรือ อยู่ในสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
   (3) นั่งร้านที่อยู่ภายนอกอาคาร หรือส่วนอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่มีพายุ ลมแรง ฝนตก หรือฟ้าคะนอง 

-ในการทำงานบนนั่งร้านหลายชั้นพร้อมกันนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันวัสดุร่วงหล่นที่เหมาะสมกับสภาพงานเพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อผู้ซึ่งทำงานอยู่ด้านล่าง

-นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบนั่งร้านทุกครั้งก่อนการใช้งานและทำรายงานผลการตรวจสอบไว้ด้วยและต้องมีสำเนาเอกสารเก็บไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ค้ำยัน

- ในการสร้าง ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ตรวจสอบ ใช้ เคลื่อนย้าย และรื้อถอน ค้ำยัน นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณสมบัติและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากไม่มีดังกล่าวนายจ้างต้องดำเนินการให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณสมบัติและคู่มือการใช้งานเป็นหน้งสือ และต้องมีสำเนาเอกสารเก็บไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

- ในการสร้าง ประกอบ หรือติดตั้งค้ำยัน นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณ ออกแบบ และควบคุมโดยวิศวกร ดังต่อไปนี้

   (1) ค้ำยันที่ทำด้วยเหล็ก ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกการใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน
        กรณีค้ำยันไม่ใช่เหล็ก ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 4 เท่าของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน

   (2) ไม้ที่ใช้ทำค้ำยัน ต้องเป็นไม้ที่ไม่ผุเปื่อย หรือ ชำรุด จนทำให้ไม้ขาดความแข็งแรง ทนทาน และต้องมีหน่วยแรงดัดประลัย ไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4
   (3) เหล็กที่ใช้ทำค้ำยัน ต้องเป็นเหล็กที่มีจุดคราด ไม่น้อยกว่า 2,400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2
   (4) ข้อต่อและจุดยึดต่าง ๆ ของค้ำยันต้องมั่นคงแข็งแรง
   (5) ในกรณีที่มีที่รองรับค้ำยัน ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน
   (6) ค้ำยันต้องยึดโยง หรือ ตรีงกับพื้นดิน หรือส่วนของสิ่งก่อสร้างให้มั่นคงแข็งแรง

- นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบของค้ำยันหรือที่รองรับค้ำย้นทุกครั้งก่อนการใช้งานและระหว่างการใช้งาน หากพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย นายจ้างต้องดำเนินการซ่อมแซมหรือปรับปรุงส่วนประกอบของค้ำย้นและที่รองรับค้ำยันให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยอยู่เสมอ

- ในกรณีใช้ค้ำยันรองรับการเทคอนกรีต อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือรองรับสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้บุคคลซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอยู่ใน หรือใต้บริเวณนั้น ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นและเฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

- นายจ้างต้องจัดทำสำเนาเอกสาร ในรูปแบบเอกสาร หรืออิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้ ดังนี้
  (1) ข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้าน หรือ ค้ำยัน
  (2) รายละเอียดคุณสมบัติและคู่มือการใช้งาน (การสร้าง ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ การใช้ เคลื่อนย้าย และรื้อถอน) ทั้งของ นั่งร้าน และค้ำยัน
  (3) รายงานผลการตรวจสอบนั่งร้าน

ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้

กฎหมายฉบับเต็ม
 กฎกระทรวง นั่งร้าน ค้ำย้น 2564 (105 KB)