พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558
3,107 views    
        
ด้าน :
ชีวภาพ
เรื่อง :
-
ลำดับกฎหมาย :
พระราชบัญญัติ
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
บังคับตามกฎหมาย
วันที่ประกาศ :
26 สิงหาคม 2558
วันที่มีผลบังคับใช้ :
22 กุมภาพันธ์ 2559

สาระสำคัญ

คำจำกัดความ

เชื้อโรค หมายความว่า
1) เชื้อจุลินทรีย์
2) สารชีวภาพ
3) เชื้ออื่นตามประกาศที่ออกตามาตรา 6 (3)

กรณี 1) 2) และ3) ต้องเป็นกรณีเฉพาะที่ทำให้เกิดโรคในคน ปศุสัตว์ สัตว์พาหนะ หรือสัตว์อื่นตามประกาศที่ออกตาม มาตรา 6 (3)

พิษจากสัตว์ หมายความว่า พิษที่เกิดจากสัตว์และทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปกติในคน ปศุสัตว์ สัตว์พาหนะ หรือสัตว์อื่นตามประกาศที่ออกตามมาตรา 6(3)

"เชื้อจุลินทรีย์" หมายความว่า แบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต

"สารชีวภาพ" หมายความว่า  1) ผลิตผลหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่ถูกสร้างขึ้นหรือดัดแปลงจากพิษจากสัตว์ เชื้อจุลินทรีย์ หรือเชื้ออื่นตามประกาศที่ออกตามมาตรา 6 (3) และ 2) อนุภาคโปรตีนก่อโรค

"นำเข้า" หมายความว่า นำ หรือ สั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

"ส่งออก" หมายความว่า นำ หรือ ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

"ขาย" หมายความว่า จำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ในทางการค้า  และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขาย

"นำผ่าน" หมายความว่า นำ หรือส่งผ่านราชอาณาจักร ไม่ว่าจะมีการขนถ่ายหรือเปลี่ยนพาหนะในราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม

"มีไว้ครอบครอง" หมายความว่า การมีไว้ในครอบครองไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น

"เอกสารกำกับ"  หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดที่ทำให้ปรากฎความหมาย หรือรายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ซึ่งสอดแทรกหรือแสดงไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อของภาชนะบรรจุ

"ฉลาก" หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของภาชนะเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ เพื่อประโยชน์ด้านการบ่งชี้ หรือการให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

"ภาชนะบรรจุ" หมายความว่า วัตถุใด ๆ ที่ใช้บรรจุ หรือห่อหุ้ม เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์โดยเฉพาะ

"ผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง" หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้หมายความรวมถึงผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งด้วย

"ผู้รับใบอนุญาต" หมายความว่า ผูัได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ และในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้หมายความรวมถึงผูัแทนนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตด้วย

"ผู้ดำเนินการ" หมายความว่า ผู้ควบคุมการผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ และมีชื่อในหนังสือรับรองการแจ้งหรือใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

"ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ" หมายความว่า ผู้ควบคุมการผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ และมีชื่อในหนังสือรับรองการแจ้ง หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้


- มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยและป้องกันอันตรายต่อสาธารณชน ได้แก่ 1) รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุม 2) รายการพิษจากสัตว์ที่ประสงค์ควบคุม 3) เชื้ออื่นและสัตว์อื่นตามมาตรา 4 4) ลักษณะของสถานที่ผลิต หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เครื่องมือ อุปกรณ์ เอกสารกำกับ ฉลาก ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ จำนวนหรือปริมาณของเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่สามารถมีไว้ในครอบครอง รวมทั้งระบบความปลอดภัยและระบบคุณภาพของการผลิตนำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ รวมถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยและป้องกันอันตรายต่อสาธารณชน

- มาตรา 18 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดรายการของเชื้อโรค โดยคำนึงถึงวิธีป้องกัน วิธีรักษา การแพร่กระจาย และจำนวนหรือปริมาณของเชื้อโรค รวมทั้งต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในคน ชุมชน ปศุสัตว์ สัตว์พาหนะ หรือสัตว์อื่นตามมาตรา 6 (3) โดยแบ่งเชื้อโรคเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1) เชื้อโรค กลุ่มที่ 1 ได้แก่ เชื้อโรคที่มีความเสี่ยงน้อย หรือ อันตรายน้อย
2) เชื้อโรค กลุ่มที่ 2 ได้แก่ เชื้อโรคที่มีความเสี่ยงปานกลาง หรือ อันตรายปานกลาง
3) เชื้อโรค กลุ่มที่ 3 ได้แก่ เชื้อโรคที่มีความเสี่ยงสูง หรือ อันตรายสูง
4) เชื้อโรค กลุ่มที่ 4 ได้แก่ เชื้อโรคที่มีความเสี่ยงสูงมาก หรือ อันตรายสูงมาก

-มาตรา 19 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดายการของพิษจากสัตว์ โดยคำนึงถึงวิธีป้องกัน วิธีรักษา การแพร่กระจาย และจำนวนหรือปริมาณของพิษจากสัตว์ รวมทั้งต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปกติ หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นในคน ชุมชน ปศุสัตว์ สัตว์พาหนะ หรือสัตว์อื่นตามมาตรา 6 (3) โดยแบ่งพิษจากสัตว์เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1) พิษจากสัตว์ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ พิษจากสัตว์ที่ทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไ่ม่เป็นปกติในระดับที่ไม่ร้ายแรงและมีวิธีรักษาที่ได้ผล
2) พิษจากสัตว์ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ พิษจากสัตว์ที่ทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปกติในระดับที่ร้ายแรงและมีวิธีรักษาที่ได้ผล
3) พิษจากสัตว์ กลุ่มที่ 3 ได้แก่ พิษจากสัตว์ที่ทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปกติในระดับที่ร้ายแรงและยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผล


- มาตรา 20- 22 ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน หรือ มีไว้ในครอบครองเชื้อโรค (กลุ่มที่ 1-4) และพิษจากสัตว์ (กลุ่มที่ 1-3) ต้องปฏิบัติตามประกาศที่ได้กำหนดไว้

- มาตรา 28 หน่วยงานที่มีการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค การป้องกันโรคและการบำบัดโรค จะผลิต หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ได้ ต้องจัดให้มี "ผู้ดำเนินการ" และ "ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ" ของหน่วยงานนั้น และตัองจัดให้มี "คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ" 


ศึกษาบทกำหนดโทษ และกฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้


กฎหมายฉบับเต็ม
 พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 (204 KB)