พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
6,558 views    
        
ด้าน :
เคมี
เรื่อง :
งานเสี่ยงสูง, ค่า/เกณฑ์มาตรฐาน
ลำดับกฎหมาย :
พระราชบัญญัติ
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
มีไว้อ้างอิง
วันที่ประกาศ :
6 เมษายน 2535
วันที่มีผลบังคับใช้ :
7 เมษายน 2535
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535

สาระสำคัญ

คำจำกัดความ:
วัตถุอันตราย หมายความว่า วัตถุดังต่อไปนี้
(1) วัตถุระเบิดได้
(2) วัตถุไวไฟ
(3) วัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุเปอร์ออกไซด์
(4) วัตถุมีพิษ
(5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
(6) วัตถุกัมมันตรังสี
(7) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
(8) วัตถุกัดกร่อน
(9) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
(10) วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
ผลิต หมายความว่า ทำ เพาะ ปรุง ผสม แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ
นำเข้า หมายความว่า นำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ นำผ่าน
ส่งออก หมายความว่า ส่ง หรือดำเนินการเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
ขาย หมายความว่า การจำหน่าย จ่าย หรือแจกเพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย
มีไว้ในครองครอง หมายความว่า การมีไว้ในครอบครองไม่ว่าเพื่อตนเอง หรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นการมีไว้เพื่อขาย เพื่อขนส่ง เพื่อใช้ หรือเพื่อประการอื่นใด และรวมถึงการทิ้งอยู่ หรือปรากฎอยู่ในบริเวณที่อยู่ในความครอบครองด้วย
ฉลาก หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่วัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ หรือสอดแทรก หรือ รวมไว้กับวัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ และหมายความรวมถึงเอกสาร หรือคู่มือประกอบการใช้วัตถุอันตรายด้วย


การควบคุมวัตถุอันตราย: 
มาตรา 18 วัตถุอันตรายแบ่งออกตามความจำเป็นในการควบคุม ดังนี้
(1) วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
(2) วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
(3) วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องได้รับใบอนุญาต
(4) วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามไม่ให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง
ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระบุชื่อ หรือ คุณสมบัติของวัตถุอันตราย ชนิดของวัตถุอันตราย กำหนดเวลาการบังคับใช้ และหน่วยงานรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตราย ดังกล่าว

มาตรา 20 ให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
(1) กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติและสิ่งเจือปน ภาชนะบรรจุ วิธีการตรวจและทดสอบภาชนะ ฉลาก การผลิต การนำเข้า การส่งออก การขาย การขนส่ง การเก็บรักษา การกำจัด การทำลาย การปฏิบัติกับภาชนะของวัตถุอันตราย การให้แจ้งข้อเท็จจริง การให้ส่งตัวอย่างหรือการอื่นใดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย เพื่อควบคุม ป้องกัน บรรเทา หรือระงับอันตรายที่จะเกิดแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงสนธิสัญญาและข้อผูกพันระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
(2) กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญ หรือ บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตาม (1)
(3) กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตราย
(4) กำหนดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายดังกล่าว
(5) ระบุชื่อ หรือ คุณสมบัติของวัตถุอันตราย และกรณีที่ได้รับการยกเว้น

มาตรา 44 ให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศให้วัตถุอันตรายดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพรบ.นี้ ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามที่เห็นสมควรได้
(1) วัตถุอันตราย ซึ่งโดยลักษณะหรือปริมาณอาจก่อให้เกิดอันตรายน้อย หรือซึ่งการบังคับตามมาตรการต่าง ๆ ตาม พรบ.นี้จะก่อให้เกิดภาระเกินความสมควร
(2) วัตถุอันตรายของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐ สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นตามที่เห็นสมควรกำหนด



ศึกษาบทกำหนดโทษ และกฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้

กฎหมายฉบับเต็ม
 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 (195 KB)