สาระสำคัญ
คำจำกัดความ :
วัตถุอันตราย หมายความว่า วัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ตามมาตรา 18 วรรคสอง แห่ง พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
ผู้ประกอบการวัตถุอันตราย หมายความว่า ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย
สถานที่เก็บรักษา หมายความว่า อาคารคลังสินค้าที่ใช้สำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
การเก็บรักษา หมายความว่า การเก็บรักษาวัตถุอันตรายทั้งในและนอกสถานที่เก็บรักษา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเก็บรักษาในแท็งก์ (Tank) ไซโล (Silo) และภาชนะบรรจุก๊าซเหลวเย็นจัด (Portable/Bulk Container Cryogenic liquefied gas or Refrigerated liquefied gas),
การจำแนกประเภทวัตถุอันตรายสำหรับการเก็บรักษา หมายความว่า การจัดประเภทวัตถุอันตรายตามลักษณะทางกายภาพ เคมี หรืออันตรายอื่นที่อาจเกิดขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บวัตถุอันตรายอย่างปลอดภัย
มาตรการป้องกัน หมายความว่า การดำเนินการเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการเก็บรักษา ประกอบด้วย การดำเนินการด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการด้านสุขศาสตร์ คำแนะนำวิธีการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม และการจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหล เป็นต้น
ข้อกำหนดพิเศษ หมายความว่า ข้อกำหนดเพิ่มเติมของสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ได้แก่ วัตถุระเบิด ก๊าซ สารไวไฟ และสารออกซิไดซ์
ข้อ 2 ให้ผู้ประกอบการวัตถุอันตราย ดำเนินการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการเก็บรักษาวัตถุอันตรายในเรื่องสถานที่เก็บรักษา การจำแนกประเภทวัตถุอันตรายสำหรับการเก็บรักษามาตรการการป้องกัน ข้อกำหนดพิเศษ และการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ.2550 หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์นานาชาติ โดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อ 3 ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่มีการเก็บรักษาวัตถุอันตรายอยู่ก่อนวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ ให้ดำเนินการต่อไปได้ แต่ต้องปรับปรุงให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |