ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564
4,433 views    
        
ด้าน :
อาชีวอนามัย
เรื่อง :
งานเสี่ยงสูง, ฝึกอบรม
ลำดับกฎหมาย :
ประกาศกรม
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
ไม่ต่ำกว่ากฎหมาย
วันที่ประกาศ :
11 มีนาคม 2564
วันที่มีผลบังคับใช้ :
10 เมษายน 2564

สาระสำคัญ


หมวด 1 : หลักเกณฑ์ และวิธีการฝึกอบรม

- นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏฺิบัติงานในที่อับอากาศ และต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้

- นายจ้าง หรือ นิติบุคคล ที่ได้รับอนุญาตเป็นหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ต้องดำเนินการ ดังนี้
(1) แจ้งกำหนดการฝึกอบรม พร้อมรายชื่อและคุณสมบัติของวิทยากร ต่อ อธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไม่น้อยกว่า 7 วันทำการก่อนฝึกอบรม
- จัดฝึกอบรมเต็มเวลาตามที่หลักสูตรกำหนด
- มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมตามหลักสูตร
- มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้าอบรม
- ออกหลักฐานแสดงการผ่านอบรม โดยอย่างน้อยประกอบด้วย ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐาน พร้อมระบุข้อความว่า "จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง" หรือ "จัดฝึกอบรมโดยนิติบุคคลได้รับอนุญาตตามมาตรา 11 ใบอนุญาตเลขที่ ..." ชื่อและนามสกุลผู้ที่ผ่านอบรม ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการอบรม สถานที่ตั้งฝีกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วัน/เดือน/ปีที่ฝีกอบรม และลงนามโดยนายจ้างหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 11
- จัดห้องอบรมภาคทฤษฎีโดยมีผู้เข้าอบรมไม่เกิน 30 คน และมีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และภาคปฏิบัติต้องมีวิทยากรอย่างน้อย 1 คนสำหรับผู้เข้าอบรมไม่เกิน 15 คน
- ฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง หรือ มีลักษณะเหมือนสถานที่จริง และผู้เข้าฝึกอบรมต้องได้ฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน
- ผู้เข้าอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
   1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
   2) มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าหากเข้าไปในที่อับอากาศอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ฝึกอบรม
- ฝึกปฏิบัติต้องมีอุปกรณ์ อย่างน้อยต้องประกอบด้วย 1) เครื่องตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในอากาศ 2) เครื่องตรวจวัดความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจต่อไฟหรือระเบิดได้ 3) เครื่องตรวจวัดค่าความเข็มของสารเคมีในอากาศ 4) เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ 5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (อย่างน้อย ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดส่งอากาศช่วยหายใจ อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต)


หมวด 2 : หลักสูตรการฝึกอบรม
- หลักสูตรฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ มี 6 หลักสูตร ดังนี้

  หลักสูตร
  ระยะเวลาฝึกอบรม
  ภาคทฤษฎี**
  ภาคปฏิบัติ**
  1)  หลักสูตรผู้อนุญาต
  จัด  1 วัน อบรมไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง
  5  ชั่วโมง
  ไม่น้อยกว่า  2 ชั่วโมง
  2)  หลักสูตรผู้ควบคุมงาน
  จัด  2 วันต่อเนื่อง อบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
  9  ชั่วโมง
  ไม่น้อยกว่า  3 ชั่วโมง
  3)  หลักสูตรผู้ช่วยเหลือ
  จัด  3 วันต่อเนื่อง อบรมไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
  12  ชั่วโมง
  ไม่น้อยกว่า  6 ชั่วโมง
  4)  หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  จัด  2 วันต่อเนื่อง อบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
  9  ชั่วโมง
  ไม่น้อยกว่า  3 ชั่วโมง
  5)  หลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  จัด  4 วันต่อเนื่อง อบรมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
  15  ชั่วโมง
  ไม่น้อยกว่า  9 ชั่วโมง
  6)  หลักสูตรทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
อบรมเฉพาะภาคทฤษฎี**  ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง
    ทบทวนทุก 5 ปี โดยอบรมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันก่อนครบกำหนด 5 ปี

** รายละเอียดหัวข้ออบรม ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่กฎหมายฉบับเต็ม


หมวด 3 : วิทยากรฝึกอบรม
- วิทยากรอบรม ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  คุณสมบัติ
  ผ่านการอบรม
  ที่อับอากาศ
  ประสบการณ์ทำงาน
    ที่อับอากาศ
  ประสบการณ์
    เป็นวิทยากรบรรยาย
  1.  มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี  สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า
  -
  ไม่น้อยกว่า  1 ปี
  ไม่น้อยกว่า  24 ชั่วโมงต่อปี
  2.  เป็นหรือเคยเป็น จป.วิชาชีพ
  ไม่น้อยกว่า  18 ชั่วโมง
  ไม่น้อยกว่า  2 ปี
  ไม่น้อยกว่า  24 ชั่วโมงต่อปี
  3.   เป็นหรือเคยเป็นจป.หัวหน้างาน  จป.เทคนิค และจป.เทคนิคขั้นสูง มาไม่น้อยกว่า 3 ปี
  ไม่น้อยกว่า  18 ชั่วโมง
  ไม่น้อยกว่า  3 ปี
  ไม่น้อยกว่า  24 ชั่วโมงต่อปี
  4.  สำเร็จการศึกษาเฉพาะทาง
  เฉพาะทางเกี่ยวกับ
  หัวข้อที่บรรยาย
  -
  ไม่น้อยกว่า  24 ชั่วโมงต่อปี

ทั้งนี้ นายจ้าง หรือ นิติบุคคลต้องจัดให้วิทยากรได้รับการอบรม หรือ เพิ่มเติมความรู้ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อปี


หมวด 4 : การกำกับดูแล
- นายจ้างจัดทำทะเบียนรายชื่อผูัผ่านการอบรม ระบุวันและเวลาอบรม และรายชื่อวิทยากร เก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการ
- นายจ้างจัดทำรายงานผลการฝึกอบรม โดยแจ้งต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายใน 30 วันนับจากวันที่อบรมเสร็จสิ้น ได้ด้วยตนเอง หรือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)

บทเฉพาะกาล
ผู้ที่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ หรือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2548 พ.ศ.2549 และพ.ศ.2551 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ หรือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามประกาศนี้  ทั้งนี้ ต้องผ่านการอบรม หลักสูตรทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ภายใน 30 วันก่อนครบกำหนด 5 ปี นับจากวันที่ผ่านการอบรม 

นอกจากนี้ ผู้ที่ผ่านอบรมมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ต้องอบรม หลักสูตรทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ภายใน 90 วันนับจากที่ประกาศมีผลบังคับใช้

สำหรับ ผู้ที่ผ่านการอบรม หลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ยอมรับ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ถือว่า ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นวิทยากร




ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้


กฎหมายฉบับเต็ม
 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (331 KB)