สาระสำคัญ
ยกเลิกข้อความบางข้อ/บางหมวด ในประกาศประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ โดยให้ใช้ข้อความนี้แทน ดังนี้
- ยกเลิกความในข้อ 5 โดยใช้ข้อความนี้แทน
ข้อ 5 อุปกรณ์ตรวจวัดระดับความร้อน ประกอบด้วย
1) เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง เป็นชนิดปรอท หรือ แอลกอฮอล์ที่มีความละเอียดของสเกล 0.5 องศาเซลเซียส และมีความแม่นยำบวกหรือลบ 0.5 องศาเซลเซียส มีการกำบังป้องกันเทอร์โมมิเตอร์จากแสงอาทิตย์ หรือแหล่งที่แผ่รังสีความร้อน โดยไม่รบกวนการไหลเวียนอากาศ
2) เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติ มีความละเอียดสเกล 0.5 องศาเซลเซียส และมีผ้าฝ้ายชั้นเดียวที่สะอาดห่อหุ้มกระเปาะหยดน้ำกลั่นลงบนผ้าฝ้ายที่หุ้มกระเปาะให้เปียกชุ่มและให้ปลายอีกด้านหนึ่งของผ้าจุ่มอยู่ในน้ำกลั่น เพื่อให้ผ้าส่วนที่หุ้มกระเปาะเทอร์โมมิเตอร์เปียกอยู่ตลอดเวลา
3) โกลบเทอร์โมมิเตอร์ มีช่วงการวัดตั้งแต่ - 5 องศาเซลเซียส ถึง 100 องศาเซลเซียส ที่ปลายกระเปาะเทอร์โมมิเตอร์เสียบอยู่กึ่งกลางทรงกลมกลวงที่ทำด้วยทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร ภายนอกทาด้วยสีดำด้านที่สามารถดูดกลืนรังสีความร้อนได้ดี
สำหรับอุปกรณ์ตรวจวัดระดับความร้อนชนิดอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านและคำนวณค่าอุณหภูมิบัลบ์โกลบ (WBGT) ต้องเป็นอุปกรณ์ได้มาตรฐาน ISO 7243 ขององค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ อุปกรณ์ตรวจวัดระดับความร้อน ต้องปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) ก่อนกาารใช้งานทุกครั้ง และปรับเทียบความถูกต้องของอุปกรณ์กับหน่วยปรับเทียบมาตรฐานปีละ 1 ครั้ง กรณีสถานประกอบกิจการมีอุปกรณ์ตรวจวัดระดับความร้อนที่ใช้ภายในให้ปรับเทียบความถูกต้องของอุปกรณ์กับหน่วยปรับเทียบมาตรฐานทุก 2 ปี
- ยกเลิกความในข้อ 8 โดยใช้ข้อความนี้แทน
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |