ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการฝีึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและหลักเกณฑ์การประเมิน พ.ศ.2566 (อยู่ระหว่างการสรุปสาระสำคัญ)
931 views    
        
ด้าน :
อาชีวอนามัย
เรื่อง :
ฝึกอบรม
ลำดับกฎหมาย :
ประกาศกรม
การนำไปใช้ในมหาวิทยาลัย :
มีไว้อ้างอิง
วันที่ประกาศ :
22 ธันวาคม 2566
วันที่มีผลบังคับใช้ :
23 ธันวาคม 2566
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและหลักเกณฑ์การประเมิน

สรุปสาระสำคัญ

เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ข้อ 43 และข้อ 44

ประกาศกรมฯ ฉบับนี้ ประกอบด้วย 5 หมวด ได้แก่

หมวด 1 : หลักสูตรการฝึกอบรม
หมวด 2 : คุณสมบัติของวิทยากร
หมวด 3 : การจัดฝึกอบรมของผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม
หมวด 4 : การดำเนินการฝึกอบรม
หมวด 5 : การประเมินหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
หมวด 1  : หลักสูตรการฝึกอบรม

หลักสูตรสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 21 (3) ของกฎกระะทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ.2565 ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปีในสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 หรือบัญชี 2 

โดยหลักสูตร จป.วิชาชีพ ประกอบด้วย 6 หมวดวิชา ระยะเวลาการฝึกอบรม 234 ชั่วโมง  ซึ่งมีหมวดวิชาและระยะเวลาอบรมดังนี้
หมวดวิชาที่ 1 : ความรู้ทั่วไป กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ระยะเวลาอบรม 36 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (30 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 2 : สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาอบรม 48 ชั่วโมง  โดยภาคทฤษฎี 30 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 18 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 : วิศวกรรมความปลอดภัย ระยะเวลาอบรม 36 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (30 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 4 : การดูแลสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง ระยะเวลาอบรม 36 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (30 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 5 : การยศาสตร์ และการปรับปรุงสภาพการทำงาน ระยะเวลาอบรม 36 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (30 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 6 : การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาอบรม 42 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (30 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (12 ชั่วโมง)

หลักสูตรสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 21 (2) (5) และ(6) ของกฎกระะทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ.2565
ข้อ 21 (2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่กน้อยกว่า 5 ปี
ข้อ 21 (5) เป็นผู้ที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม 2540
ข้อ 21 (6) เป็นผู้ที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2528 หรือเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ 12 กันยายน 2534

โดยหลักสูตร จป.วิชาชีพ ประกอบด้วย 6 หมวดวิชา ระยะการฝึกอบรม 90 ชั่วโมง ซึ่งมีหมวดวิชาและระยะเวลาอบรมดังนี้
หมวดวิชาที่ 1 : ความรู้ทั่วไป กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ระยะเวลาอบรม 12 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (6 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 2 :  สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาอบรม 24 ชั่วโมง  โดยภาคทฤษฎี 6 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 18 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3 : วิศวกรรมความปลอดภัย ระยะเวลาอบรม 12 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (6 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 4 : การดูแลสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง ระยะเวลาอบรม 12 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (6 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 5 : การยศาสตร์ และการปรับปรุงสภาพการทำงาน ระยะเวลาอบรม 12 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (6 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (6 ชั่วโมง)
หมวดวิชาที่ 6 : การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาอบรม 18 ชั่วโมง โดยภาคทฤษฎี (6 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ (12 ชั่วโมง)

ทั้งนี้ รายละเอียดหัวข้ออบรม สามารถดูได้ที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานฉบับนี้ ตามแนบด้านล่างนี้

หมวด 2 : คุณสมบัติของวิทยากร


หมวด 3 : การจัดฝึกอบรมของผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรม


หมวด 4 : การดำเนินการฝึกอบรม


หมวด 5 : การประเมินหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ


กฎหมายฉบับเต็ม
 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและหลักเกณฑ์การประเมิน พ.ศ.2566 (218 KB)