โครงการพัฒนาหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย
(หลักสูตรนี้ใช้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น)
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให้อธิบดีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้บังคับ กอปรกับสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 797 วันที่ 27 ตุลาคม 2559 มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) โดยมีพันธกิจในการเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ที่ผ่านมา ศปอส.ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (จป.บริหาร) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยได้ว่าจ้างหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายมาให้การอบรม แต่ด้วยว่าต้องใช้เวลาอบรมจำนวน 12 ชั่วโมง (ต่อเนื่อง 2 วัน) ซึ่งทำให้ผู้บริหารจัดสรรเวลาเข้ารับการอบรมได้ยาก ส่งผลให้มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนด
ดังนั้น ศปอส. ตามพันธกิจในการเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดให้มี “หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย และส่วนงานขึ้น เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่ต้องจัดให้มีผู้บริหารได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของผู้บริหารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16
3. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม/กลุ่มเป้าหมาย
4. ระยะเวลาการอบรม
4 ชั่วโมง
5. สถานที่อบรม
ห้องเรียนออนไลน์ SHECU Moodle
เข้าสู่การอบรมที่นี่
6. กำหนดการอบรม
เข้าดู วิดีทัศน์ ( 4 หมวดวิชา) และทำข้อสอบ ได้ทุกช่วงเวลา ในระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2566
7. วิทยากรอบรม
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้บริหารส่วนงาน ทราบบทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใต้การบริหารของมหาวิทยาลัยและส่วนงาน
9. การประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
ผู้เข้าอบรมฟังบรรยายครบตามกำหนด และทำข้อสอบหลังการอบรมได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะได้รับวุฒิบัตรรับรองผ่านการอบรม
10. เนื้อหาอบรม
หมวดวิชา | ผู้บรรยาย | |
1 | ความสำคัญของเรื่องความปลอดภัย | รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
|
2 (45 นาที) | การบริหารงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
| ศ.ดร.นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
3 (90 นาที) | กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
| รศ.ดร. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
|
4 (45 นาที) | การจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
| ศ.ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
สามารถเข้าดู วิดีทัศน์ และทำข้อสอบ (e-learning) ได้ทุกช่วงเวลา ในระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2566 ในห้องเรียนออนไลน์ SHECU Moodle เข้าสู่การอบรมที่นี่
1. | นายกริช พรหมพระสิทธิ์ | ฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน |
2. | รศ. ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ | ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ |
3. | ผศ. ดร.จุฬพงษ์ พานิชเกรียงไกร | ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ |
4. | อ. ดร.ฉัตรชัย ศรีนิติวรวงศ์ | ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ |
5. | นางณัฐวลัย พงศ์เทพูปถัมภ์ | ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ |
6. | นายทสร บุณยะกาญจน | ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ |
7. | ผศ. ดร.เทวิน เทนคำเนาว์ | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
8. | รศ. ดร.ธัญญลักษณ์ ฉายสุวรรณ์ | ฝ่ายวิจัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี |
9. | รศ. ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท | ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
10. | นางสาวนันท์ธร เภาราช | ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ |
11. | นางสาวปณิธิดา บังเมฆ | ฝ่ายบริหาร สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร |
12. | นางปาริชาติ ลีอริยะ | ฝ่ายบริหาร ศูนย์สัตว์ทดลอง |
13. | ดร.พรพิมล มะหะหมัด | ฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล |
14. | อ. ดร.พัฒนา เจริญลักษณ์ | ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ |
15. | นางสาวมนฤดี เข็มทำ | ฝ่ายบริหาร ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล |
16. | น.สพ.รชฎ ตันติเลิศเจริญ | ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ |
17. | ผศ. ดร.วิโรจน์ บุญรัตนกรกิจ | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
18. | อ. ดร.วุฒิชัย จงจิตเมตต์ | ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการฯ คณะวิทยาศาสตร์ |
19. | ศุภสุตา ผลสวัสดิ์ | ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ |
20. | นายสมชาย วงศ์รัตนรักษ์ | ฝ่ายบริหาร คณะวิทยาศาสตร์ |
21. | รศ. ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ | ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
22. | ผศ. ดร.อัญชลี เฉียบฉลาด | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
1. | นายกริช พรหมพระสิทธิ์ | ฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน |
2. | รศ. ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ | ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ |
3. | นางณัฐวลัย พงศ์เทพูปถัมภ์ | ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ |
4. | นายทสร บุณยะกาญจน | ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ |
5. | ผศ. ดร.เทวิน เทนคำเนาว์ | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
6. | รศ. ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท | ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
7. | นางสาวนันท์ธร เภาราช | ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ |
8. | นางสาวปณิธิดา บังเมฆ | ฝ่ายบริหาร สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร |
9. | นางปาริชาติ ลีอริยะ | ฝ่ายบริหาร ศูนย์สัตว์ทดลอง |
10. | ดร.พรพิมล มะหะหมัด | ฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล |
11. | อ. ดร.พัฒนา เจริญลักษณ์ | ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ |
12. | นางสาวมนฤดี เข็มทำ | ฝ่ายบริหาร ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล |
13. | ผศ. ดร.วิโรจน์ บุญรัตนกรกิจ | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
14. | อ. ดร.วุฒิชัย จงจิตเมตต์ | ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการฯ คณะวิทยาศาสตร์ |
15. | ศุภสุตา ผลสวัสดิ์ | ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ |
16. | รศ. ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ | ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
17. | ผศ. ดร.อัญชลี เฉียบฉลาด | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
1. | นายกริช พรหมพระสิทธิ์ | ฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน |
2. | รศ. ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ | ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ |
3. | นายทสร บุณยะกาญจน | ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ |
4. | รศ. ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท | ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
5. | นางสาวนันท์ธร เภาราช | ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ |
6. | นางสาวปณิธิดา บังเมฆ | ฝ่ายบริหาร สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร |
7. | นางปาริชาติ ลีอริยะ | ฝ่ายบริหาร ศูนย์สัตว์ทดลอง |
8. | ดร.พรพิมล มะหะหมัด | ฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล |
9. | อ. ดร.พัฒนา เจริญลักษณ์ | ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ |
10. | นางสาวมนฤดี เข็มทำ | ฝ่ายบริหาร ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล |
11. | ผศ. ดร.วิโรจน์ บุญรัตนกรกิจ | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
12. | อ. ดร.วุฒิชัย จงจิตเมตต์ | ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการฯ คณะวิทยาศาสตร์ |
13. | ศุภสุตา ผลสวัสดิ์ | ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ |
14. | รศ. ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ | ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
15. | ผศ. ดร.อัญชลี เฉียบฉลาด | ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ |
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |