หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (e-learning) ประจำปี พ.ศ.2568

โครงการพัฒนาหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

จัดโดย ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย

(หลักสูตรนี้ใช้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น)


1. หลักการและเหตุผล

    ตามที่ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให้อธิบดีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้บังคับ กอปรกับสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 797 วันที่ 27 ตุลาคม 2559 มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) โดยมีพันธกิจในการเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ที่ผ่านมา ศปอส.ได้ดำเนินการจัดให้มีการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (จป.บริหาร) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยได้ว่าจ้างหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายมาให้การอบรม แต่ด้วยว่าต้องใช้เวลาอบรมจำนวน 12 ชั่วโมง (ต่อเนื่อง 2 วัน) ซึ่งทำให้ผู้บริหารจัดสรรเวลาเข้ารับการอบรมได้ยาก ส่งผลให้มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนด

      ดังนั้น ศปอส. ตามพันธกิจในการเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดให้มี “หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย และส่วนงานขึ้น เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ที่ต้องจัดให้มีผู้บริหารได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


2. วัตถุประสงค์

    เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของผู้บริหารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16


3. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย (อธิการบดี) และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย (รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี)
  • ผู้บริหารสูงสุดของส่วนงาน (คณบดี/ผู้อำนวยการ (สถาบัน ศูนย์ สำนัก)) และคณะผู้บริหารส่วนงาน (รองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดี/รองผู้อำนวยการ)
  • ผู้บริหารส่วนงานย่อย (หัวหน้าภาควิชา/ผู้อำนวยการฝ่าย) และคณะผู้บริหารส่วนงานย่อย (รองหัวหน้าภาควิชา/หัวหน้ากลุ่มภารกิจ/หัวหน้างาน)


4. ระยะเวลาการอบรม

     4 ชั่วโมง

5. ขั้นตอนการอบรม

  1. กรอกข้อมูลที่ปุ่ม "ลงทะเบียน" เพื่อลงทะเบียน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568
  2. หลังลงทะเบียน สามารถเข้ารับการอบรมแบบออนไลน์ (e-Learning) ได้ที่นี่!! เลือก "เข้าสู่ระบบโดยใช้ username และ password ตามระบบ CUNET
  3. "รายวิชาที่มีอยู่" ให้เลือกรายวิชา "หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (e-learning) ประจำปี พ.ศ.2568"
  4. ระบุ Enrolment key สำหรับ Self enrolment ตามที่ได้รับทางอีเมลหลังจากลงทะเบียน
  5. อ่านคำแนะนำการอบรมหลักสูตร
  6. ศึกษาเนื้อหาจากวีดิทัศน์ และเอกสารประกอบการอบรม
  7. ทำแบบทดสอบหลังการอบรม**
    **ข้อสอบเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ จะสอบผ่านเมื่อทำถูก 16 ข้อหรือมากกว่า
  8. เมื่อสอบผ่านจะปรากฎใบประกาศนียบัตรขึ้น สามารถบันทึกในรูปแบบ pdf หรือสั่งพิมพ์เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน


6. กำหนดการอบรม
     เข้าดู วิดีทัศน์ (4 หมวดวิชา) และทำข้อสอบ ได้ทุกช่วงเวลา ในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568


7.  วิทยากรอบรม 

  • ศ.ดร.นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล       
  • รศ.ดร. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์         
  • ศ.ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์

 

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้บริหารส่วนงาน ทราบบทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใต้การบริหารของมหาวิทยาลัยและส่วนงาน

 

9. การประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล

    ผู้เข้าอบรมฟังบรรยายครบตามกำหนด และทำข้อสอบหลังการอบรมได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะได้รับวุฒิบัตรรับรองผ่านการอบรม 


10. เนื้อหาอบรม

หมวดวิชา

ผู้บรรยาย

1
 (60 นาที)

ความสำคัญของเรื่องความปลอดภัย
รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ 
อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิตาม พรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
  • Thailand Vision Zero
  • 7 Golden Rules & Guides
  • วิสัยทัศน์ความปลอดภัยสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
  • ทิศทางการจัดการความปลอดภัยระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับมหาวิทยาลัยอื่น

2

(45 นาที)

การบริหารงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • การควบคุมความสูญเสียจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน
  • บทบาทหน้าที่ผู้บริหารเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ศ.ดร.นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 และที่ปรึกษา ศปอส.
  • ทฤษฎี/หลักการ/สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
  • โรคจากการทำงาน
  • กรณีตัวอย่างที่ทำให้เกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุในการทำงาน และโรคจากการทำงาน

3

(90 นาที)

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
รศ.ดร. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์
อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิตาม พรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
  • กฎหมายหลัก พรบ.อาชีวอนามัย 2554 /มาตรา 3 วรรค 2 คู่มือความปลอดภัยฯ สำหรับหน่วยงานราชการ
  • กฎหมายที่สำคัญและจำเป็นที่เกี่ยวกับลักษณะงานที่มีความเสี่ยงภายในมหาวิทยาลัย เช่น สารเคมี รังสี ก่อสร้าง ไฟฟ้า ป้องกันระงับภัย ฯลฯ
  • พรบ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562

4

(45 นาที)

การจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แนวคิดการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์
ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยฯ
  • ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยฯ
  • แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยฯ ด้านอาชีวอนามัย เคมี ชีวภาพ และรังสี
  • ฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยฯ
  • แอปพลิเคชันรายงานสภาพไม่ปลอดภัย (SHECU APP)


1. ดร.กนกวรรณ ศรีวัฒนพงศ์ ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
2. นางกฤติยา ทองเพ็ชร ฝ่ายบริหาร คณะอักษรศาสตร์
3. อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์ ฝ่ายบริหาร คณะจิตวิทยา
4. อ. ดร.กุนทินี สุวรรณกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์
5. นางสาวกุลพธู สุนทรารชุน ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
6. จริวัฒน์ เตียวัฒนานนท์ ฝ่ายวางแผน ออกแบบ และสารสนเทศระบบกายภาพ สำนักบริหารระบบกายภาพ
7. รศ. ดร.จิรดา วุฑฒยากร ก.การสอนภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาตร์ฯ สถาบันภาษา
8. ผศ. ดร.จุฑาทิพ อัสสะบำรุงรัตน์ รองผู้อำนวยการและรักษาการผอฝ่ายบริหาร สำนักงานการทะเบียน
9. ผศ. ดร.จุฬาภรณ์ กองแก้ว กลุ่มการสอนภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ สถาบันภาษา
10. นายฉัตรชัย ภู่มาก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
11. อ. ดร.ชนิตา ดวงยิหวา ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
12. ดร.ชวธัช ธนูสิงห์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
13. นายชวพัส โตเจริญบดี ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์
14. นายชาญชัย ทะนิต๊ะ กลุ่มภารกิจกลุ่มงานจัดการพื้นที่น่าน ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค
15. ณัฏฐณิชชา ง้าวกาเขียว ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
16. นางสาวดวงใจ ทวีปะ ฝ่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์
17. นางสาวดวงตา ใบโคกสูง ฝ่ายทะเบียนการศึกษา สำนักงานการทะเบียน
18. อ. ทพ.ดุสิต นันทนพิบูล ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
19. อ. ภญ. ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์
20. นางสาวทิพนิภา ชื่นสกุล ฝ่ายบริหาร คณะอักษรศาสตร์
21. นางสาวทิพาวรรณ เพทราเวช กลุ่มภารกิจวิชาการและบริหาร ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
22. ผศ. น.สพ. ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
23. ผศ. ดร.เทวิน เทนคำเนาว์ ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์
24. นายธรากร ชงเชื้อ ฝ่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
25. นางสาวธวัลรัตน์ สิงห์ทอง ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
26. นางสาวธาริณี ไชยประพาฬ ศูนย์สื่อสารองค์กร
27. รศ. ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์
28. อ.ดร.นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์ วิทยาลัยประชากรศาสตร์
29. ผศ. ดร.นวพร วินยเวคิน ฝ่ายบริหาร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
30. รศ. ดร.นันทรี ชัยชนะวงศาโรจน์ ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์
31. นางสาวนัยน์ปพร จารุเกษตรวิทย์ ฝ่ายบริการข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานวิทยทรัพยากร
32. นางสาวนุษรา ปานกรด ผู้อำนวยการสำนัก สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
33. ผศ. ดร.บุษรา โพวาทอง ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
34. นางสาวปาริชาติ เขตสมุทร ฝ่ายบริหาร วิทยาลัยประชากรศาสตร์
35. พงษ์พันธุ์ สุวรรณชาติ ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
36. นางพรประภา เสวกวิหารี บริหาร ศูนย์บริหารกลาง
37. อ. ดร.พัชราวลัย วงศ์ศิริ ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์
38. นางสาวพิชญานันท์ สุวรรณบูรณ์ ฝ่ายวิจัย ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
39. ดร.พิชาวีร์ เอี่ยมสําอางค์ งานวิจัย สถาบันวิจัยพลังงาน
40. ผศ. ดร.พุทธรักษา วรานุศุภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
41. รศ. ดร.ภัทรา ยี่ทอง ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
42. นางสาวยูอาน่าร์ นุ่งอาหลี ฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย กลุ่มภารกิจบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
43. รศ. ทพญ. ดร.รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
44. อ. ดร.รัชนีพร ติยะวิสุทธิ์ศรี ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์
45. นางรุ่งรวี แลตรง ฝ่ายทะเบียนนิสิต  สำนักงานการทะเบียน
46. ดร.ลลิตตา สุริยาอรุณโรจน์ ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์
47. อ. ดร.ลัคนา อภิปัญญาโสภณ ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ฯ คณะสหเวชศาสตร์
48. ส.อ.วชิรวิชญ์ โก้สกุล ฝ่ายวิชาการ คณะอักษรศาสตร์
49. อ. ดร.วนัชพร อรุณมณี ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์
50. รศ. ภญ. ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์
51. นางวัลลี ภูมิพงศ์ไทย ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
52. วิศรุตม์ ประวัติวัชรา ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
53. อ.ศรียา เนตรน้อย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์
54. นางศศิธร นวลขลิบ ฝ่ายบริหาร คณะเภสัชศาสตร์
55. นายศักดิ์ชัย มะโนแป๊ก ฝ่ายบริหาร ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค
56. รศ. ดร.ศิริพร จงผาติวุฒิ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
57. ผศ. ดร.ศิริพร ชื้อชวาลกุล ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์
58. นายศุภวิชญ์ เวชพิสิฐปกรณ์ ฝ่ายเครือข่ายนานาชาติและพันธกิจสากล สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ
59. ศ. ร.ต.อ.หญิง ภญ. ดร.สุชาดา สุขหร่อง สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
60. ผศ. ดร.สุนทรี ทวีธนะลาภ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์
61. รศ.ภญ.ดร.สุพรรณิการ์ ถวิลหวัง ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์
62. อ. ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง ฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์
63. นางสาวสุรีพร ม่วงสวัสดิ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
64. เสาวลักษณ์ ลาวงศ์ โรงพยาบาลปศุสัตว์ จังหวัดนครปฐม คณะสัตวแพทยศาสตร์
65. ผศ.หฤทัย โลหะศิริวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
66. นายอภิสิทธิ์ ดุมลักษณ์ ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
67. อมร ทรัพย์อาภารัตน์ ฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
68. อรนิภา หาแสงศรี ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์
69. นางอังคณา บุญเลิศ ฝ่ายบริหาร สำนักงานวิทยทรัพยากร
70. นางสาวอัจฉรี ลับไพรี ฝ่ายบริหาร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. ดร.กนกวรรณ ศรีวัฒนพงศ์ ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
2. อ. ดร.กุนทินี สุวรรณกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์
3. นางสาวกุลพธู สุนทรารชุน ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
4. จริวัฒน์ เตียวัฒนานนท์ ฝ่ายวางแผน ออกแบบ และสารสนเทศระบบกายภาพ สำนักบริหารระบบกายภาพ
5. ณัฏฐณิชชา ง้าวกาเขียว ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
6. อ. ทพ.ดุสิต นันทนพิบูล ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
7. นางสาวทิพาวรรณ เพทราเวช กลุ่มภารกิจวิชาการและบริหาร ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
8. นางสาวธวัลรัตน์ สิงห์ทอง ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
9. รศ. ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์
10. ผศ. ดร.นวพร วินยเวคิน ฝ่ายบริหาร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
11. พงษ์พันธุ์ สุวรรณชาติ ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
12. นางสาวพิชญานันท์ สุวรรณบูรณ์ ฝ่ายวิจัย ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
13. ดร.พิชาวีร์ เอี่ยมสําอางค์ งานวิจัย สถาบันวิจัยพลังงาน
14. นางสาวยูอาน่าร์ นุ่งอาหลี ฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย กลุ่มภารกิจบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
15. รศ. ทพญ. ดร.รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
16. รศ. ภญ. ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์
17. นางวัลลี ภูมิพงศ์ไทย ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
18. วิศรุตม์ ประวัติวัชรา ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
19. รศ.ภญ.ดร.สุพรรณิการ์ ถวิลหวัง ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์
20. ผศ.หฤทัย โลหะศิริวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
21. อรนิภา หาแสงศรี ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์
22. นางสาวอัจฉรี ลับไพรี ฝ่ายบริหาร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. ดร.กนกวรรณ ศรีวัฒนพงศ์ ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
2. อ. ดร.กุนทินี สุวรรณกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์
3. นางสาวกุลพธู สุนทรารชุน ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
4. จริวัฒน์ เตียวัฒนานนท์ ฝ่ายวางแผน ออกแบบ และสารสนเทศระบบกายภาพ สำนักบริหารระบบกายภาพ
5. ณัฏฐณิชชา ง้าวกาเขียว ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
6. อ. ทพ.ดุสิต นันทนพิบูล ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์
7. นางสาวทิพาวรรณ เพทราเวช กลุ่มภารกิจวิชาการและบริหาร ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
8. นางสาวธวัลรัตน์ สิงห์ทอง ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
9. รศ. ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์
10. ผศ. ดร.นวพร วินยเวคิน ฝ่ายบริหาร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
11. พงษ์พันธุ์ สุวรรณชาติ ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
12. นางสาวพิชญานันท์ สุวรรณบูรณ์ ฝ่ายวิจัย ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ
13. ดร.พิชาวีร์ เอี่ยมสําอางค์ งานวิจัย สถาบันวิจัยพลังงาน
14. นางสาวยูอาน่าร์ นุ่งอาหลี ฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย กลุ่มภารกิจบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
15. รศ. ทพญ. ดร.รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
16. รศ. ภญ. ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์
17. นางวัลลี ภูมิพงศ์ไทย ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
18. วิศรุตม์ ประวัติวัชรา ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
19. รศ.ภญ.ดร.สุพรรณิการ์ ถวิลหวัง ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์
20. ผศ.หฤทัย โลหะศิริวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
21. นางสาวอัจฉรี ลับไพรี ฝ่ายบริหาร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี