กรณีศึกษาอุบัติเหตุเพลิงไหม้รุนแรงจากอดีตถึงปัจจุบัน
2,526 views    
  ดร.องอาจ ธเนศนิตย์  [5 ก.ย. 65]    

       จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่สถานบันเทิงเมาท์เทน บี (Mountain B) ผับ ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 22 ราย (ยอด ณ วันที่ 5 กันยายน 2565) บาดเจ็บมากกว่า 41 ราย เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยลักษณะของเหตุการณ์ค่อนข้างใกล้เคียงกับกรณีไฟไหม้ซานติกาผับ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2552 อีกทั้ง จากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าว ทำให้หลาย ๆ คน หวนรำลึกถึงกรณีเพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์ เมื่อปี 2536 ซึ่งจัดเป็นเหตุการณ์เพลิงไหม้รุนแรงครั้งใหญ่ในประเทศซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้น การเรียนรู้ด้านความปลอดภัยผ่านการถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาทั้งสามข้างต้น นอกจากจะช่วยให้เกิดการตระหนักทราบด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยแล้ว ยังช่วยตอกย้ำว่าอุบัติเหตุเพลิงไหม้นั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ความเสียหายหรือผลกระทบจากการเกิดเพลิงไหม้นั้นมีมูลค่าที่มาก (ทั้งทรัพย์สิน ร่างกายและจิตใจ)  การทราบถึงสาเหตุของปัญหาและการดำเนินการเชิงป้องกัน รวมทั้งการมีความพร้อมเพื่อตอบโต้เหตุฉุกเฉินจะช่วยขจัดหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ได้

ตารางแสดงข้อมูลของเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ (2536) ไฟไหม้ซานติกาผับ (2552) และไฟไหม้เมาท์เทน บี (Mountain B) ผับ (2565)



ไฟไหม้ โรงงานเคเดอร์1 

(โรงงานตุ๊กตา)

ไฟไหม้ซานติกาผับ2-4

ไฟไหม้เมาท์เทนบี (Mountain B)2-4 ผับ

วันที่เกิดเหตุ

10 พฤษภาคม พ.ศ. 2536

1 มกราคม พ.ศ.2552

5 สิงหาคม  พ.ศ. 2565

สถานที่ตั้ง

อ.สามพราน จ.นครปฐม

เขตวัฒนา กรุงเทพฯ

อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ความเสีหายที่เกิดขึ้น 

มีจำนวนผู้เสียชีวิต 188 คน และบาดเจ็บ 469 คน

มีจำนวนผู้เสียชีวิต 67 คน บาดเจ็บสาหัส 34 คน และบาดเจ็บอีก 72 คน

มีจำนวนผู้เสียชีวิต 22 คน และบาดเจ็บ 43 ราย

สภาพการณ์ก่อนเกิดเหตุ

  • ก่อนที่จะเกิดเหตุ โรงงานเคยเกิดเพลิงไหม้มาแล้ว 3 ครั้ง โดยสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยได้สร้างความเสียหายให้กับอาคาร 3 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้จัดเก็บฝ้ายและวัสดุโพลีเอสเตอร์
  • โรงงานมี 4 อาคาร โดยในแต่ละอาคารมี 4 ชั้น
  • มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 1,200 คนในวันที่เกิดเหตุ (พื้นที่ของซานติก้า สามารถจุคนได้เพียง 500 คนเท่านั้น)
  • สถานบันเทิงเป็นอาคารเดี่ยว พื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร มีสองชั้นและมีชั้นใต้ดิน
  • มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต มีการต่อเติมดัดแปลงใช้เป็นสถานบันเทิง สถานบันเทิงมีประตูเข้าออกทั้งหมด 4 ประตู โดยมีประตูทางเข้าออกหลักเพียง 1 ประตู (ซึ่งมีขนาดไม่ได้ตามมาตรฐานที่สภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ) ประตูที่เหลือเป็นประตูที่ใช้สำหรับการเข้าออกเพื่อใช้ในกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม เช่น สูบบุหรี่ และประตูสำหรับแขกวีไอพี (VIP)
  • ไม่มีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ไม่มีป้ายแสดงชี้บ่งทางหนีไฟอย่างชัดเจน (สำหรับประตูทางหนีไฟจะรู้กันเองเพียงแค่พนักงานและเจ้าของกิจการ)  ไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
  • มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณเกือบ 100 คน ในวันที่เกิดเหตุ (เป็นช่วงที่สถานบริการกำลังจะปิดให้บริการ)
  • ตัวอาคารหน้ากว้าง 20 เมตร ยาวมากกว่า 30 เมตร สูง 5-6 เมตร บริเวณภายในอาคารติดตั้งโฟมกันเสียง โดยรอบ
  • ไม่มีใบอนุญาตในการเปิดสถานบันเทิง (เดิมเป็นร้านอาหาร โดยต่อมาต่อเติมเป็นสถานบันเทิง)
  • มีการออกแบบประตูเป็นแบบ 2 ชั้น เพื่อป้องกันเสียงจากข้างในไม่ให้ออกมาข้างนอก ความกว้างของประตูประมาณ 80 ซม. ด้านหลังเวทีจะมีประตูเล็กอีก 1 ประตู แต่ล็อกเอาไว้ตลอดเวลา จะเปิดประตูแค่ในบางกรณี เช่น การเปิดรับวงดนตรีเข้ามาภายในร้าน
  • ไม่มีป้ายแสดงชี้บ่งทางหนีไฟอย่างชัดเจน

รายละเอียดของเหตุการณ์

  • คนงานจำนวนมาก กำลังทำงานอยู่ภายในอาคาร โดยไม่ทราบว่าด้านล่างของอาคารที่ 1 เกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งในขณะนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ดับเพลิงโดยใช้ถังดับเพลิง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพลิงไหม้ยังคงลุกลามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ภายในโรงงานมีเชื้อเพลิงและวัสดุที่ติดไฟจำนวนมากเก็บไว้ เช่น เศษผ้า และวัสดุไวไฟ)
  • ในช่วงแรกของการเกิดเพลิงไหม้ พนักงานส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ที่บริเวณชั้น 3 และ 4 ของอาคารที่ 1 ยังไม่ทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นเนื่องจากอาคารที่ 1 ไม่มีการติดตั้งระบบสัญญานแจ้งเหตุไฟไหม้  
  • หลังจากที่พนักงานในอาคารที่ 1`ทราบว่ามีเพลิงไหม้เกิดขึ้นแล้ว ในช่วงแรกเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องยังไม่อนุญาตให้พนักงานสามารถอพยพออกนอกอาคารได้ เนื่องจากคาดว่าจะสามารถจัดการกับเพลิงไหม้ได้ อีกทั้งกลัวว่าพนักงานอาจจะแอบขโมยตุ๊กตาออกนอกอาคาร
  • แต่เมื่อไฟไหม้ลุกลามเพิ่มมากขึ้นและประเมินว่าไม่สามารถจัดการกับไฟได้แล้ว จึงอนุญาตให้พนักงานภายในอาคารสามารถอพยพหนีไฟได้
  • เนื่องจากไฟลุกลามและแผ่ขยายเป็นวงกว้าง เป็นเหตุให้สามารถอพยพหนีไฟได้จำกัด (เส้นทางอพยพเหลือเพียงเส้นทางเดียว) อีกทั้ง บันไดหนีไฟมีความคับแคบ ทางออกมีทางเดียว และคนอพยพหนีไฟมีจำนวนมาก จึงทำให้เกิดความวุ่นวายในการอพยพหนีไฟ
  • ไฟไหม้มีระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นซึ่งปิดกั้นทำให้พนักงานไม่สามารถหนีออกนอกอาคารได้ และเป็นเหตุให้พนักงานบางส่วนซึ่งติดอยู่ภายในอาคาร ตัดสินใจกระโดดออกนอกอาคารจากที่สูง (ซึ่งบางส่วนเสียชีวิตจากการตกจากที่สูง)
  • อาคารที่ 1 เกิดพังทลายลงมาในเวลาต่อมา (เนื่องจากเหล็กโครงสร้างที่ใช้งานอาจไม่ได้มาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (ทนไฟได้น้อย) เพลิงไหม้ลุกลามต่อไปยังอาคารที่ 2 และที่ 3 ที่อยู่ข้างเคียง  แต่เนื่องจากอาคารทั้งสอง มีระบบสัญญานแจ้งเหตุไฟไหม้ อีกทั้งพนักงานทราบว่ามีเพลิงไหม้เกิดขึ้นในอาคารที่ 1 จึงทำให้พนักงานสามารถอพยพหนีไฟได้ทัน ก่อนที่อาคารทั้งสองจะพังทลายลงมาในเวลาต่อมา
  • ในช่วงการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ ทางสถานบันเทิงมีการจุด special effect กลางเวที ร่วมกับการแสดงของนักร้อง จากนั้นไม่นาน สังเกตเห็น ประกายไฟบางส่วนเกิดขึ้นที่บริเวณเพดาน (โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นการแสดง) ไฟลุกไหม้อย่างรวดเร็วเนื่องจากวัสดุที่ใช้ตกแต่ง เป็นวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น ผนังโฟมที่ซับเสียง จากนั้นระบบไฟฟ้าภายในอาคารก็เริ่มดับลง
  • ไฟลุกไหม้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีควันไฟเกิดขึ้นในปริมาณมาก นักท่องเที่ยวพยายามหนีตายออกนอกอาคาร โดยใช้ประตูด้านหน้าซึ่งมีขนาดเล็ก มีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อย ไม่สามารถหนีออกนอกอาคารได้
  • เกิดไฟลุกไหม้ที่บริเวณหลังคาในช่วงที่สถานบริการกำลังจะปิดให้บริการ และมีเสียงระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้ง ไฟลุกลามขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากวัสดุภายในเป็นวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น โฟมซับเสียง โดยลุกลามไปรอบอาคาร
  • รถดับเพลิงจากหลายหน่วยต่าง ๆ มากกว่า 20 คัน เข้าควบคุมเพลิง
  • เนื่องจากสถานที่เกิดเหตุมีทางเข้าออกที่สามารถใช้งานได้เพียงทางเดียวจึงเกิดความโกลาหลในการหนีไฟเพื่อออกนอกอาคาร
  • พบผู้เสียชีวิตบางส่วนที่บริเวณประตูทางออกและในห้องน้ำ

สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้

สาเหตุของปัญหายังไม่แน่ชัด อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือพนักงานสูบบุหรี่

ข้อมูลจากกล้องวงจรปิด แสดงให้เห็นว่า special effect บริเวณกลางเวทีและจากระบบไฟฟ้า อาจเป็นสาเหตุในการเกิดเพลิงไหม้

อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรที่บริเวณฝ้าเพดาน มีประกายไฟเกิดขึ้นสัมผัสวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย  เช่น โฟมและฟองน้ำ (วัสดุดูดซับเสียง)

ตัวอย่าง VDO 

Thairath Online (2020), 3 นาทีคดีดัง: เคเดอร์ ไฟนรก ขัง..ตาย [online video] Available at: https://www.youtube.com/watch?v=LExW-2MpP-0 [Accessed 6 September 2022].

TNAMCOT (2015) ข่าวดังข้ามเวลา : เคาท์ดาวน์มรณะ ซานติก้าผับ [online video] Available at:
https://www.youtube.com/watch?v=gtK6TWWl5MQ [Accessed 6 September 2022].

max457 (2022) [online video] Available at:
https://twitter.com/JiaRuiiji/status/1555291360483127296 [Accessed 6 September 2022].


       จากตารางข้อมูลเปรียบเทียบเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ (2536) ไฟไหม้ซานติกาผับ (2552) และไฟไหม้เมาท์เทน บี (Mountain B) ผับ (2565) พบว่า สถานประกอบการทั้งสาม มีข้อบกพร่องในด้านความปลอดภัยที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กร ยังขาดความตระหนักทราบด้านความปลอดภัย (เป็นอย่างมาก) อาทิ ขาดแนวทางในการป้องกันและการตอบโต้เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย ขาดการวางแผนและซ่อมบำรุงอุปกรณ์และเครื่องมือ  ขาดการบริหารความเสี่ยงทำให้ไม่ทราบ/และละเลยอันตรายจากสิ่งคุกคาม (hazard) ในสถานที่ทำงาน (เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร)  ขาดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขและป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้า (preventive actions) ในกรณีของไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ รวมทั้ง ไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับทางกฎหมายจากทางรัฐ (เช่น โครงสร้าง สถาปัตยกรรมและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ไม่เหมาะสม เช่น ประตูทางออก ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ประตูหนีไฟ)

       จากข้อมูลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน6 พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ในการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการ (รวมทั้งสถานที่ทำงาน)  รวมทั้ง แนวทางการควบคุมและป้องกันในการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการ โดยมีข้อสรุปที่สำคัญดังนี้

 การเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการ (รวมทั้งสถานที่ทำงาน)  สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจาก

  • ประกายไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด หรือการใช้งานไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น สายไฟที่ฉนวนหุ้มเปื่อย การใช้สะพานไฟหรือฟิวส์ที่ไม่ถูกขนาด
  • การเชื่อมหรือการตัดโลหะ ซึ่งจะมีการก่อกำเนิดประกายไฟ หากประกายไฟสัมผัสเชื้อเพลิงก็จะเกิดการลุกไหม้ขึ้น
  • การสูบบุหรี่หรือการจุดไฟ ในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงหรือไอระเหยของสารไวไฟ หรือวัสดุไวไฟ
  • ประกายไฟที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้าสถิต หากไฟฟ้าสถิตสัมผัสเชื้อเพลิงก็จะเกิดการลุกไหม้ขึ้น
  • การลุกไหม้ด้วยตนเอง เช่น สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง เมื่อมีการสะสมจะเกิดความร้อนขึ้นได้ด้วยตนเองจนกระทั่งถึงจุดติดไฟ และสามารถลุกไหม้ได้

แนวทางการป้องกันและควบคุมอัคคีภัยในสถานประกอบการ (รวมทั้งสถานที่ทำงาน)  

  • ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับงาน และมีการตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ
  • การเชื่อมหรือการตัดโลหะ ควรจัดแยกห่างจากพื้นที่ ๆ อื่น ทำงานในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทที่ดี  ไม่มีเชื้อเพลิงอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียง มีการป้องกันการกระเด็นของประกายไฟ (ตัวอย่างเช่น การจัดให้มีใบอนุญาตให้ทำในที่ร้อน (hot work permit))
  • ควรห้ามสูบบุหรี่ หรือกำหนดพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ
  • การป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ (มักเกิดขึ้นจากการเสียดสีหรือการถ่ายเทของสารที่ไม่เป็นตัวนำ) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การต่อสายดิน การต่อกับวัตถุที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับประจุได้
  • การป้องกันการเกิดลุกไหม้ได้เอง การเก็บสารเชื้อเพลิงที่อาจเกิดการสันดาปได้ ตัวอย่างเช่น ขยะปนเปื้อนน้ำมันหรือผงสี ควรจัดเก็บในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการเกิดการสันดาปกับอากาศ
  • จัดให้มีสัญญาณเตือนภัย ระบบดับเพลิง และเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของเชื้อเพลิงและมีปริมาณพอเพียงต่อการใช้งาน มีการตรวจสอบให้มีสภาพพร้อมในการใช้งาน
  • มีแผนในการป้องกันและระงับอัคคีภัย มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละครั้ง

       ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากข้อมูลทางสถิติของอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ในช่วงปี 2562-2565 (จากฐานข้อมูลการรายงานอุบัติการณ์ของศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พบว่ามีอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 15 เหตุการณ์ โดยแบ่งเป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงในระดับน้อย ปานกลางและมาก5 คิดเป็น 53% (8 เหตุการณ์), 40% (6 เหตุการณ์) และ 7% (1 เหตุการณ์) ตามลำดับ

  • สำหรับอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่มีความรุนแรงในระดับมาก (โดยทั่วไป มีมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินมากกว่า 1 ล้านบาท) มีเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เป็นเพลิงไหม้ที่บริเวณสถานีทำงาน (โต๊ะทำงาน) ส่งผลให้ระบบพ่นน้ำอัตโนมัติทำงาน และปลดปล่อยน้ำออกมาในปริมาณมาก และสัมผัสกับอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของลิฟท์ทำให้เกิดความเสียหาย
  • สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ชำรุด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรืออุปกรณ์ เครื่องมือมีความร้อนสะสม หรือทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือ ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้  ตัวอย่างของเหตุการณ์ เช่น ตู้อบไหม้  เครื่อง fax ไหม้  พลาสติกครอบหลอดไฟ (acrylic light cover) เกิดลุกไหม้ battery ที่ charge เกิดการลุกติดไฟ ตัวกรอบพลาสติกของพัดลมดูดอากาศลุกไหม้ เป็นต้น

       การวางแผนและดำเนินการเพื่อตรวจสอบซ่อมแซมและบำรุงรักษา อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ การบริหารความเสี่ยงในสถานที่ทำงาน การมีแผนในการป้องกันและระงับอัคคีภัย การฝึกซ้อมดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ รวมทั้งการปฏิบัติแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยฯ6 ตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (https://www.shecu.chula.ac.th/home/content.asp?Cnt=117) จะสามารถช่วยป้องกันและลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งจะก่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัย ให้ทั้งต่อตัวผู้ปฏิบัติงาน ส่วนงานและมหาวิทยาลัยได้

-----------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง 

1. Encyclopedia of Occupational Health and Safety (2022). Case Study: The Kader Toy Factory Fire. [online] Iloencyclopaedia.org. Available at: <https://www.iloencyclopaedia.org/part-vi-16255/disasters-natural-and-technological/item/374-case-study-the-kader-toy-factory-fire> [Accessed 6 September 2022].

2. ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (2022). ย้อนรอยไฟไหม้ “ซานติก้าผับ” สู่ "เมาท์เทน บี" คืนมรณะคร่าชีวิตนักเที่ยว. [online] Available at: <https://www.thansettakij.com/insights/535371> [Accessed 6 September 2022].

3. ไทยรัฐออนไลน์ (2022). อาถรรพณ์ 13 ปี ไฟไหม้ซานติก้า เกิดเหตุซ้ำ ”เมาท์เท่น บี” 13 ศพ บทเรียนไม่เคยจำ. [online] Available at: < https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2465292> [Accessed 6 September 2022].

4. กรุงเทพธุรกิจ (2022). "ไฟไหม้ผับชลบุรี" ย้อนเหตุการณ์ 14 ปีความสูญเสียซานติก้าผับ ถึง Mountain B. [online] Available at: < https://www.bangkokbiznews.com/news/1019234> [Accessed 6 September 2022].

5.กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน (2021) คู่มือการฝึกอบรม หลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

6. ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ (2020) แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยฯ ตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [online] Available at: <https://www.shecu.chula.ac.th/home/content.asp?Cnt=117> [Accessed 6 September 2022].


 กรณีศึกษาอุบัติเพลิงไหม้รุนแรงจากอดีตถึงปัจจุบัน (128 KB)