ไดคลอโรมีเทนหรือที่รู้จักว่า เมทิลีนคลอไรด์ (methylenechloride) เป็นสารเคมีอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาครัฐ เนื่องด้วยสมบัติเฉพาะตัวของไดคลอโรมีเทนที่มีจุดเดือดต่ำ สามารถละลายสารประกอบอินทรีย์ได้หลากหลายชนิดจึงถูกนำมาใช้งานเป็นตัวทำละลายในกระบวนการต่าง ๆ ทางเคมี อย่างไรก็ตาม ไดคลอโรมีเทนเป็นสารเคมีอันตรายที่ผู้ปฏิบัติงานมักมองข้ามความเป็นอันตราย หากมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไดคลอโรมีเทนที่ไม่ปลอดภัยเช่น การใช้งาน การจัดเก็บ การเคลื่อนย้ายและการกำจัด ผู้ปฏิบัติงานจะมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสัมผัสและเกิดอันตรายได้นอกจากนี้ ไดคลอโรมีเทนยังเป็นสารในกลุ่มเฮโลอัลเคน (haloalkane) ที่มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมสามารถทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสีที่เป็นอันตรายผ่านเข้ามายังพื้นโลกได้มากขึ้น1-2 จากข้อมูลรายงานของสํานักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา3 (EPA) พบมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไดคลอโรมีเทน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่น้อยกว่า 85 คน (นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2524) โดยส่วนใหญ่เป็นคนงานในธุรกิจการต่อเติมบ้าน
1. ข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับไดคลอโรมีเทน1,2
ไดคลอโรมีเทน เป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะคล้ายอีเทอร์ สามารถระเหยได้ง่าย มีจุดเดือดและไวไฟต่ำ ดังแสดงในภาพที่ 1 ไดคลอโรมีเทน ถูกนำมาใช้ในกระบวนการทางเคมีต่าง ๆ ทั้งในทางอุตสาหกรรม การเกษตร และงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น
2. ผลกระทบทางสุขภาพจากไดคลอโรมีเทน1,2
หากได้รับสัมผัสไดคลอโรมีเทนผ่านทางผิวหนัง
ภาพที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไปของไดคลอโรมีเทน
หากได้รับไดคลอโรมีเทนผ่านการสูดดม
ผลกระทบแบบเฉียบพลัน
ผลกระทบแบบรื้อรัง
3. ตัวอย่างกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับไดคลอโรมีเทน
กฎหมายและข้อกำหนดในประเทศไทย
4. ไดคลอโรมีเทนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากข้อมูลของโปรแกรมจัดการข้อมูลสารเคมีและของเสียอันตรายในจุฬา ฯ (ChemTrack&WasteTrack 2016) ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พบว่ามีปริมาณของไดคลอโรมีเทนภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมประมาณ 3 ตัน ซึ่งถือว่ามีจำนวนไม่น้อย โดยไดคลอโรมีเทนมีการกระจายอยู่ในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ในส่วนงานสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ เช่น ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงาน ควรมีแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันในการทำงานกับไดคลอโรมีเทน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ลดความเสี่ยงจากอันตรายของไดคลอโรมีเทน และลดผลกระทบของสารต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันทั้งในจุฬาฯ และสังคมไทย
ตัวอย่างแนวปฏิบัติในการทำงานกับไดคลอโรมีเทนในสถานที่ทำงาน1,2
เอกสารอ้างอิง
1. PUBCHEM (2023). Methylene Chloride. [online] pubchem.ncbi.nlm.nih.gov. Available at: https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Methylene-chloride. [Accessed 1 Jun. 2023].
2. ECHA.EUROPA.EU. (n.d.). Substance Information - ECHA. [online] Available at: https://echa.europa.eu/substance-information/-/substanceinfo/100.000.763 [Accessed 1 Jun. 2023].
3. US EPA, O. (2023). EPA Proposes Ban on All Consumer, Most Industrial and Commercial Uses of Methylene Chloride to Protect Public Health. [online] www.epa.gov. Available at: https://www.epa.gov/newsreleases/epa-proposes-ban-all-consumer-most-industrial-and-commercial-uses-methylene-chloride. [Accessed 1 Jun. 2023].
4. กลุ่มยุทธศาสตร์และกฎระเบียบระหว่างประเทศด้านสารเคมี กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2021). กฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารพิษของประเทศสหรัฐอเมริกา [online] www.diw.go.th Available at: http://reg3.diw.go.th/chem/wp-content/uploads/2021/06/TSCA_กฎหมายควบคุมสารเคมีอเมริกา_เผยแพร่_10June2021.pdf [Accessed 1 Jun. 2023].
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |