สรุปสาระสำคัญ
เงินทดแทน: เงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาลค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ
เงินสมทบ: เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพื่อใช้เป็นเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง
หมวด 1 : บททั่วไป
1. กรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรงโดยมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจซึ่งกระทบในสถานประกอบการหรือ สถานที่ทำงานของผู้ประกอบกิจการและเครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้ทำงานนั้นผู้ประกอบกิจการเป็นผู้จัดหากรณีเช่นว่านี้ผู้ประกอบกิจการย่อมอยู่ในฐานะนายจ้างซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพรบ.นี้
หมวด 2 : เงินทดแทน
1. เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้นและให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
2. กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
3. เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
4. เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้
(1) ร้อยละ70 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ไม่เกิน1 ปี
(2) ร้อยละ70 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายตามกฎหมายกำหนดแต่ไม่เกิน 10 ปี
(3) ร้อยละ70 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพจ่ายตามการทุพพลภาพและตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายตามกฎหมายกำหนดแต่ไม่น้อยกว่า 15 ปี
(4) ร้อยละ70 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายมีกำหนด10 ปี
ทั้งนี้ ค่าทดแทนที่ได้รับต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่ำสุด หรือไม่มากกว่าค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด
หมวด 5 : เงินสมทบ
1. ให้กระทรวงแรงงานกำหนดประเภทและขนาดของกิจการและนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วันนับจากวันที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ
2. ให้กระทรวงแรงงานมีอำนาจในการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการลดหรือเพิ่มอัตราเงินสมทบให้แก่นายจ้างตามอัตราส่วนการสูญเสียของนายจ้าง
3. นายจ้างผู้ใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดเวลาหรือจ่ายเงินสมทบไม่ครบจำนวนตามที่จะต้องจ่ายให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือนของสมทบที่ต้องจ่ายนับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ
ศึกษารายละเอียด พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 แสดงตามไฟล์แนบ กฎหมายฉบับเต็ม ด้านล่างนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 09 9132 6622 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |
จำนวนผู้เข้าชม | |||
|
|||
12 ตุลาคม 2562 |