คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโปรแกรม ChemTrack&WasteTrack2016
1,218 views    
    [10 มี.ค. 64]    

1. ต้องการขอ Username สำหรับเข้าใช้งานโปรแกรมฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร

    ตอบ : ผู้ที่ต้องการขอ Username สำหรับเข้าใช้งานโปรแกรมฯ จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
               1. เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร "การใช้งานการจัดการสารเคมีและของเสีย ด้วยโปรแกรม ChemTrack&WasteTrack2016"
               2. กรอก
แบบฟอร์มสมัครใช้งานโปรแกรม ChemTrack&WasteTrack2016 
               3. ผู้ใช้งานจะได้รับ Username และ Password สำหรับเข้าใช้งาน ผ่านทางอีเมล์ที่แจ้งไว้ในใบสมัคร
**หมายเหตุ : กรณี นิสิต/นักศึกษา จะต้องมีชื่อ ผู้รับผิดชอบกลาง/อาจารย์ที่ปรึกษา ที่อยู่ในโปรแกรมฯ อ้างอิงมาด้วย จึงจะขอ Username สำหรับเข้าใช้งานโปรแกรมฯ ได้


2. ต้องการขอใบรับรองจาก ChemTrack&WasteTrack2016 เพื่อเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกทุนวิจัยจะต้องดำเนินการอย่างไร

    ตอบ : ขั้นตอนการดำนินการเพื่อขอใบรับรองจาก ChemTrack&WasteTrack2016 มีดังนี้              
               1. ต้องเข้าร่วมอบรมและได้รับใบประกาศณียบัตร จากหลักสูตร "ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีสำหรับนิสิตที่ทำวิจัยและนักวิจัย"
               2. ต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร "การใช้งานการจัดการสารเคมีและของเสีย ด้วยโปรแกรม ChemTrack&WasteTrack2016"
               3. ต้องมีการปรับปรุงข้อมูลรายการสารเคมีในคลังที่ขอการรับรอง ให้เป็นปัจจุบัน
               4. กรอก
แบบฟอร์มขอใบรับรองการจัดการสารเคมีและของเสีย
               5. ผู้ใช้งานจะได้รับผลการพิจารณาและวันเวลาสำหรับรับใบรับรอง ผ่านทางอีเมล


3. ใบรับรองจาก ChemTrack&WasteTrack2016 มีอายุการใช้งานกี่ปี

    ตอบ : 3 ปี นับจากวันที่ประกาศไว้ในใบรับรอง


4. ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสถานที่เก็บขวดสารเคมี จากอาคาร A ไปอาคาร B ในโปรแกรมฯ อย่างไร

    ตอบ : ผู้ใช้งานสามารถแจ้งข้อมูลอาคารและห้องที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมให้กับ admin กลาง ทราบผ่านทางอีเมล์ shecu@chula.ac.th หรือโทรศัพท์ 02-218-6174


5. ต้องการปิดคลังสารเคมี จะต้องดำเนินการอย่างไร

    ตอบ : 1. ต้องจัดการข้อมูลขวดสารเคมีให้เป็นปัจจุบัน เช่น
                    1.1 กรณีใช้สารเคมีทุกขวดหมดจากคลังฯ แล้ว ให้ไปที่เมนู เช็คสต๊อก จากนั้นปรับปริมาณสารเคมีทุกขวดให้เป็น 0 หรือ ไปที่เมนู “ตัดขวด” ทำตามขั้นตอนในหัวข้อ 3.4.3 การระบุสถานะขวดสารเคมีหรือถังแก๊สที่ใช้หมดแล้ว (การตัดขวด) ของคู่มือการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูลสารเคมีและของเสียสารเคมี (ChemTrack&WasteTrack 2016)
                    1.2 กรณีโอนขวดสารเคมีที่คงเหลืออยู่ไปให้คลังฯ อื่น จัดเก็บ ให้ไปที่เมนู “โอนขวดสารเคมี” ทำตามขั้นตอนในหัวข้อ 3.1.2 การรับบริจาคสารเคมี ของคู่มือการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูลสารเคมีและของเสียสารเคมี (ChemTrack&WasteTrack 2016)
              2. แจ้งชื่อคลังสารเคมีที่ต้องการปิดการใช้งาน มาที่ admin กลาง ผ่านทางอีเมล์ shecu@chula.ac.th หรือโทรศัพท์ 02-218-6174


6. ห้องปฏิบัติการมีอาจารย์ที่ทำวิจัย 2 ท่าน หากต้องการเปิดคลังสารเคมีในโปรแกรมฯ ควรเปิดในลักษณะใด

    ตอบ การเปิดคลังสารเคมี จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล หากอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลสารเคมีของกันและกันให้ทราบ ผู้ใช้งานสามารถเปิด 1 คลังสารเคมีและใช้งานร่วมได้ แต่หากอาจารย์ต้องการความเป็นส่วนตัวของข้อมูลสารเคมี ผู้ใช้งานจะต้องเปิดคลังแยกออกเป็น 2 คลัง


7. บันทึกรายการของเสียสารเคมีที่จะส่งกำจัดไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร

    ตอบ ตามเงื่อนไขการส่งของเสียสารเคมีกำจัด ผู้ใช้งานจะต้องดำเนินการจัดการข้อมูลสารเคมีให้เป็นปัจจุบัน อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือนหรือปีละ 2 ครั้ง หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว โปรแกรมจะล็อกการใช้งานเมนู “กำจัดของเสียสารเคมี” อัตโนมัติ


8. ต้องการทิ้งเศษแก้ว ขวดแก้ว หรือภาชนะใส่สารเคมีเปล่า จะต้องดำเนินการอย่างไร

    ตอบ : ผู้ที่ประสงค์จะทิ้งเศษแก้ว ขวดแก้ว หรือภาชนะใส่สารเคมีเปล่า จะต้องดำเนินการดังนี้

              1. จัดเก็บเศษแก้ว ขวดแก้ว หรือภาชนะใส่สารเคมีเปล่าที่ต้องการส่งกำจัด ใส่ลงในกล่องหรือลังที่เหมาะสม พร้อมปิดฝาให้แน่นหนา
              2. ติดป้ายหรือเขียนระบุชนิดของของเสียที่ต้องการส่งกำจัดไว้ข้างกล่องหรือลังให้ชัดเจน
              3. กรอกแบบฟอร์มแจ้งส่งกำจัดขวดสารเคมีเปล่าและเศษแก้ว จากห้องปฏิบัติการ
              4. เลือกรอบที่ต้องการส่งกำจัด โดยเข้าไปดูรอบการเก็บของเสียได้จากตารางรอบจัดเก็บของเสียสารเคมี

9. ชุด kit จากเครื่อง Automated จัดอยู่ในของเสียสารเคมีประเภทใด และหากต้องการส่งกำจัดควรทำอย่างไร

    ตอบ : 1. พิจารณาส่วนประกอบของน้ำยาสำเร็จรูปในชุด kid นั้นๆ ก่อนว่าเป็นสารอะไร จากนั้นนำมาจำแนกประเภทของเสีย ตามแผนผังการจําแนกของเสียสารเคมี 15 ประเภท ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
              2. แยกทิ้งระหว่างน้ำยาและภาชนะที่ใส่น้ำยาจากชุด kid ตามลักษณะของเหลวและของแข็ง


10. ต้องการขอภาชนะเปล่าเพื่อใส่ของเสียสารเคมี จะต้องดำเนินการอย่างไร

    ตอบ : 1. ผู้ใช้งานดำเนินการกรอกแบบฟอร์มขอภาชนะเปล่าบรรจุของเสียสารเคมี
               2. ติดต่อนัดหมายขอเบิกถังภายในเวลา 3 วัน หลังจากส่งแบบฟอร์มขอภาชนะเปล่า หากเกินกำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
               3. ผู้ใช้งานต้องเดินทางไปเบิกภาชนะเปล่าที่บริเวณโรงเก็บภาชนะเปล่า หลังตึกภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์เอง (ส่งผู้แทนไปเบิกได้)
               4. เบิกภาชนะเปล่าได้ทุกวันในช่วงเวลา 13:30 - 16:30 น.